วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พาเจ้าหน้าที่ด้านเกษตร อบต..ทุ่งก่อ ไปเลือกชื้อไก่ประดู่หางดำ

พ่อแม่ไก่หากินตามธรรมชาติ
 เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖  นายสุพล ปานพาน  ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง  จังหวัดเชียงราย   พานายไชยวัฒน์ ไท้โค้ง เจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ ไปเยี่ยมและเลือกชื้อไก่บ้าน ป้าอัมพร พลเยี่ยม สมาชิกกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง  ตำบลป่าซาง  ซึง อบต.ทุ่งก่อ ได้อบรมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้เกษตรกรเป้าหมายไปแล้วเมืออาทิตยที่ผ่านมา ตอนนี้เป็นช่วงนำไก่ไปแจกจ่ายให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการครับ การเลี้ยงของป้าอำพร มีสรุปเป็นความรู้ย่อๆดังนี้ครับ
กินหญ้า ผักสมุนไพรในสวน เช่น ข่า ไพล หญ้าใต้ใบ 
 มีการจัดการการเลี้ยงที่มีการเอาใจใส่ มีการจัดโซนในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไว้ในสวนลำไยต่างหาก ได้หาอาหารคุ้ยเขี่ยตามธรรมชาติลดต้นทุนค่าอาหาร  เพื่อป้องกันการติดโรคระบาด  เมื่อฟักได้ลูกไก่จึงแยกมากกเอง ในบ้านจึงทำให้ได้ลูกจำนวนมาก อัตราการสูญเสียน้อย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ,มีการคัดพันธุ์เลือกพ่อพันธุ์ไก่ประดูหางดำที่มีข้อดีคือเจริญเติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มาผสมกับแม่พันธุ์ประดู่หางดำ จนสามารถมีลูกไก่ประดู่หางดำแท้ อย่างต่อเนื่องสร้างรายได้เสริมจากการเลี้ยงไก่กว่า  ๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี ความสำเร็จนี้ไม่ได้มาง่ายๆ ป้าอัมพร บอกว่าต้องมีใจรักการเลี้ยงไก่ ทั้งตัวเองและครอบครัวถึงมีวันนี้ได้ 
ป้าอัมพร มีประสบการณ์รู้ว่า ลูกไก่พื้นเมืองทั่วไปที่เลี้ยงในหมู่บ้าน มีการสูญเสียเมื่อเลี้ยงถึงไก่รุ่นร้อยละ ๔๐ ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุแรกเกิดถึง ๓ สัปดาห์ โดยสาเหตุการสูญเสียพบว่ามาจากการจัดการพื้นฐานของการเลี้ยงดูของเกษตรกรในหมู่บ้าน  ไม่ได้มาจากโรคระบาดที่เป็นปัญหาสำคัญโดยตรง เช่น โรคนิวคาสเชิล ,โรคอหิวาต์เป็ด-ไก่, โรคหลอดลมอักเสบ,โรคฝีดาษ
ดังนั้นการจัดการพื้นฐานให้ดี ร่วมกับการทำวัคซีน และการถ่ายพยาธิภายใน -ภายนอกให้พ่อแม่พันธุ์ไก่ จะทำลูกไก่ที่เกิดมามีภูมิคุ้มกันจากพ่อแม่ที่ถ่ายทอดผ่านไข่ฟักสู่ลูก ในช่วง ๒๑ วันแรก ทำให้อัตราการตายของลูกไก่ค่อนข้างต่ำ เพราะไม่มีปัญหาโรคระบาด
การทำวัคซีนป้องกันโรคในไก่พ่อแม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้าน จะมีความสำคัญไม่แพ้การทำวัคซีนในลูกไก่ เพราะการตายของลูกไก่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่ตายช่วงเล็กๆ ซึ่งแม้จะทำวัคซีนป้องกันโรคแต่แรกเกิดก็ยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ทันที ต้องใช้เวลา ๑๔ วันกว่าจะสร้างภูมิคุ้มโรคของวัคซีนแต่ละชนิด ซึ่งไม่ทันต่อการระบาดของโรค
ป้าอัมพรมีตารางการทำวัคซีนป้องกันโรค ดังนี้
วัคซีน
อายุทำ(วัน)
ระยะคุ้มโรค
หมายเหตุ
มาเร็ก
ตลอดชีพ
ทำเฉพาะไก่พันธุ์(พ่อ-แม่พันธุ์)
นิวคาสเซิล
ทำซ้ำ ๒๑ วัน

กัมโบโร่
๑๐
ตลอดชีพ

หลอดลมอักเสบ
๑๔
๓ เดือน

นิวคาสเซิล
๒๑
๓ เดือน

ฝีดาษ
๓๕
๑ ปี

อหิวาต์
๗๕
๓ เดือน

ป้าอัมพรทำวัคซีนซ้ำ หลอดลม ,นิวคาสเซิล,อหิวาต์,ถ่ายพยาธิทั้งภาย ภายนอก ทุกๆ ๓ เดือน
สำหรับไก่ในบ้านที่พ่อแม่พันธุ์ทำวัคซีนแล้ว ใน ๒๑ วันแรก ลูกไก่ยังมีภูมิคุ้มโรคมาจากแม่ที่ถ่ายทอดมาทางไข่ฟัก จึงควรทำวัคซีนในช่วงภูมิคุ้มจากแม่ลดลงคือหลังอายุ ๑๔ วัน
ส่วนลูกไก่ที่พ่อแม่พันธุ์ไม่ได้ทำวัคซีน ต้องรีบทำวัคซีนให้เร็วเพราะกว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ต้องใช้เวลาถึง ๑๔ วัน
 ไก่รุ่นถูกปล่อยให้หากินเองตอนกลางวัน มีกล้วยหมักเสิมตอนบ่าย
 หากินแมลง หนอน ปลวก ในป่าไผ่ ป่ากล้วย
ต้นกล้วยที่ป้าอัมพรตัดมาจากป่าหลังบ้าน

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไปร่วมปฎิบัติงานโครงการคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกร่วมปฏิบัติงานโครงการคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ที่โรงเรียนนครวิทยาคม ตำบลสันมะเค็ด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พร้อมกับเจ้าหน้าปศุสัตว์จังหวัดทุกอำเภอระดมมา เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ในงานมีกิจกรรมเกี่ยวกับการเกษตรมากมายครบวงจร มีประชาชนมาร่วมงานจำนวนมาก ทั้งวันถึงแม้ว่าบรรยากาศจะครึ้มฟ้าครึ้มฝนก็ตาม

 ในส่วนมุมผ่าตัดทำหมันสุนัข แมว ทั้งเพศผู้ เพศเมีย เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอพานนัดหมายเกษตรกรให้เตรียมตัวสุนัขมาอย่างดี มีบริการหลังการผ่าตัดด้วย 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ติดตามงานวิจัยการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑

นางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย และนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกปฏิบัติงานพื้นที่ บ้านห้วยห้าง ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรแต่ละรายที่เข้าร่วมงานวิจัยทั้ง ๗ คน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการการหารือในการออมเงินเพื่อคืนทุนให้ สกว.ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการ นอกจากนัเนมีการชั่งน้ำหนักไก่แต่ละรุ่นของแต่ละคนอีกครั้งเพื่อวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการใช้อาหาร และต้นทุนการดำเนินการของแต่ละคน
 การนำเสนอเป็นแบบเพาเวอร์พ้อยต์ เปรียบเทิยบความสำเร็จของแต่ละคน
 ตั้งใจฟังและแลกเปลี่ยนความรู้


 การชั่งน้ำหนักไก่แต่ละอายุ


 สภาพการเเลี้ยงที่มีการเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น
 มีมุ้งกันยุงให้ไก่ขนาดเล็ก
 โรงเรือนของสมาชิกกลุ่มที่ต้องมีการปรับปรุง
มีรั้วรอบขอบชิดอย่างที่เห็น

เก็บตัวอย่างไก่ป่วยตายที่บ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน

 เมื่อเช้าวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ได้รับแจ้งจากอาสาปศุสัตว์บ้านสันไทรงาม ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ว่าที่บ้านติดกันมีไก่ป่วยตายกระทันหันจำนวนหนึ่งขอให้เข้าไปตรวจสอบด้วย  เมื่อนายจันทร์ รักลีน พนักงานสัตวบาลของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเข้าตรวจสอบ พบว่ามีไก่ตายเป็นของนายอินทร นัยติ็บ จำนวน ๗ ตัว โดยแสดงแค่อาการสั่นแล้วก็ตาย อย่างรวดเร็ว จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ให้คำแนะนำ และมอบน้ำยาพ่นฆ่าเชื้อโรค




วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรยายการเลี้ยงไก่พื้นเมือง พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑

 นายจันทร์ รักลีน เจ้าพนักงานสัตวบาล สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้แก่เกษตรกรเครือข่ายเลี้ยงไก่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โดยเน้นไก่พันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ ไก่พื้นเมืองพันธุ์ดีของประเทศไทยที่ กรมปศุสัตว์ร่วมกับ สกว.ทำการวิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลากว่า ๑๐ ปี ที่ได้รับรางวัลว่าเป็นนวัตกรรมยอดเยี่ยม  เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง ด้วยคุณสมบัติไข่ดก อกใหญ่โตเร็ว ทนทานโรค รสชาติอร่อย
 นายบุญหลวย สุขเกษม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งก่อ เป็นประธานการอบรม
 เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมและมอบไก่มาจากทุกหมู่บ้านในพื้นที่ ที่มีฐานะยากจนแต่สนใจการเลี้ยงไก่ เพี่อสร้างรายได้เสริม
ไก่ประดู่หางดำอายุ ๓ เดือนที่มีนำหนัก ๑.๑-๑.๔ กิโลกรัม แล้วแต่การจัดการอาหารที่ใช้เลี้ยง

น้องหนูสนใจไก่ประดู่หางดำมารอรับไก่พร้อมคุณตา
สำหรับเกษตรกรที่สนใจอยากจะชื้อไก่ประดู่หางดำไปเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ ติดต่อกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้าง 
ป้าอัมพร โทรศัพท์ ๐๘๙-๐๗๘๓๕๐๓ 
หรือป้าสุธรรม ๐๘๙-๘๓๕๖๒๖๒ 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เตือนภัยเกษตรที่เลี้ยงสัตว์อาจจะป่วยช่วงหน้าฝน .....รักษาวัวป่วยและเยี่ยมควาย ธกค.บ้านประชาร่วมใจ

หน้าฝนนี้กรมปศุสัตว์ขอเตือนเกษตรกรให้ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝนเป็นพิเศษเนื่องจากช่วงนี้จะมีฝนกระหน่ำลงมาในแต่ละวัน อากาศเปลี่ยนแปลงจากร้อนเป็นร้อนชื้น ทำให้สัตว์ต่างๆ อาจเกิดความเครียดได้
          การดูแลสัตว์เลี้ยงเราจะต้องคอยเอาใจใส่เขาตลอดเวลาทุกฤดูกาล  ทว่าหน้าฝนนี้กรมปศุสัตว์ขอเตือนเกษตรกรให้ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝนเป็นพิเศษเนื่องจากช่วงนี้จะมีฝนกระหน่ำลงมาในแต่ละวัน  อากาศเปลี่ยนแปลงจากร้อนเป็นร้อนชื้น ทำให้สัตว์ต่างๆ อาจเกิดความเครียดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ของเกษตรกรที่เลี้ยงแบบปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติที่ไม่มีโรงเรือนหรือที่กันแดดกันฝน   ส่งผลให้สุขภาพสัตว์อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัดหรือโรคปอดบวม  นอกจากนี้หากฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังจะทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร ผอม อ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นหากพบเห็นสัตว์ป่วยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
          สิ่งที่เกษตรกรควรเอาใจใส่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงนี้ คือ การจัดการพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ ให้โรงเรือน มีที่กำบังลมและฝน รวมทั้งมีวัสดุปูรอง  จัดหาอาหารสัตว์ตามฤดูกาลให้เพียงพอ ควบคุมการเข้าออกของคน สิ่งของ ไม่ให้มีการนำเชื้อโรคเข้าสู่สัตว์เลี้ยงได้ มีการพ่นทำลายเชื้ออย่างถูกวิธี  และหมั่นสังเกตดูอาการของสัตว์ว่ามีอาการป่วยหรือไม่  กรณีพบสัตว์ป่วยให้แยกสัตว์ออกจากฝูง และรีบแจ้งปศุสัตว์ตำบล หรือปศุสัตว์อำเภอเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ลดความเสียหาย โดยท่านสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และ call center กรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 08-5660-9906   นอกจากนี้ ช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง ควรระงับการนำสัตว์เข้าใหม่ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรเลือกพันธุ์สัตว์ จากแหล่งที่มีความปลอดภัย  สัตว์มีที่มาถูกต้อง มีประวัติสัตว์ชัดเจน  โดยเฉพาะ ในโค กระบือ แพะ แกะ กรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการจัดทำทะเบียนสัตว์แห่งชาติ ซึ่งมีฐานข้อมูล การทดสอบโรค  การทำวัคซีน  ดังนั้นการคัดเลือกสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ ควรเลือกสัตว์ที่เครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และบัตรประจำตัวสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงในการรับสัตว์ป่วยเข้าในฟาร์ม  และแยกสัตว์เข้าใหม่ออกจากฝูงเดิม
  
             โดยทั่วไปอาการโค กระบือ แพะ แกะ และสุกรป่วยจะแสดงอาการที่เกษตรกรสามารถสังเกตเห็นได้คือ ซึม เบื่ออาหาร หากเป็นโค-กระบือ มีขี้ตา     หายใจลำบาก มีขี้มูก ไอหรือจาม หรือท้องเสีย นอกจากนี้อาจมีการแท้งลูกได้ ในเบื้อต้นสัตว์เคี้ยวเอื้องมักจะไม่มีการเคี้ยวเอื้อง จมูกเปียกแฉะหรือแห้งผิดปกติ  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หนังไม่สั่นไล่แมลง  หากเป็นสัตว์ปีก อาการที่พบได้คือ  คอตก หายใจเสียงดัง  
                ในช่วงฝนตก อากาศร้อนชื้น สัตว์ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคหวัด  โรคปอดบวม  และโรคท้องเสีย หรือพบท้องอืดในโค กระบือ  แพะ แกะ ได้  เนื่องจากความเครียดจากอากาศที่แปรปรวน สัตว์จะอ่อนแอและหากสัตว์ไม่มีการทำวัคซีนจะไวต่อการติดเชื้อโรคระบาด ได้ง่าย ดังนั้นโค-กระบือ ต้องระวังคือโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคคอบวม ส่วนสุกรต้องระวังโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคพีอาร์อาร์เอส และสำหรับสัตว์ปีก โรคที่ต้องระวังนอกจากโรคไข้หวัดนกซึ่งไม่มีการทำวัคซีนแล้ว ก็คือ  โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ  โรคนิวคลาสเซิล  โรคฝีดาษ ฯลฯ นอกจากนี้ภายหลังจากฝนตกติดต่อกันหลายๆ วัน ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังก็ให้ระวังโรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซีส ซึ่งโรคนี้เป็นโรคสัตว์ติดคน ดังนั้น เกษตรกรต้องสวมรองเท้าบู้ททุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำ   และต้องหมั่นสังเกตอาการของสัตว์ที่เลี้ยงถ้าพบมีอาการ มีไข้ ซึม ปัสสาวะสีแดงให้รีบแจ้งปศุสัตว์จังหวัดหรือ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์ตำบล หรืออาสาปศุสัตว์ในพื้นที่โดยด่วน เพื่อเข้าตรวจสอบ ป้องกัน และควบคุมโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด.
เมื่อวันที่ ๑๙กรกฎาคม ๒๕๕๖  นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเดินทางไปเยี่ยมดูวัวป่วย ที่บ้านประชาร่วมใจ ตามที่อาสาปศุสัตว์ได้โทรศัพท์แจ้ง เมื่อไปถึงคอกวัวพบว่าเป็นแม่วัวลูกผสมมีอาการซึมหน้าบวม คอบวมมานานกว่าหนึ่งอาทิตย์เจ้าของเพิ่งแจ้ง ดูจากภายนอกจะมีลักษณะผอมมาก ได้ฉีดยาบำรุงและยาถ่ายพยาธิ แต่อาการไม่ดีขึ้น และรับทราบอีกวันต่อมาอาสาปศุสัตว์ทรแจ้งว่าม่วัวตายโดยไม่มีอาการอะไร หมดแรงไปเรื่อยๆจนตาย น่าสงสารเจ้าของมากเพราะวัวกำลังจะมีลูก ชื้อมาก็เกือบสองหมื่นบาท ถ้าไม่ป่วยตายคงขายได้กว่าสามหมื่นบาท
เสร็จจากการรักษาแม่วัวได้ไปเยี่ยมควายของธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกรของกลุ่มบ้านประชาร่วมใจ ๒ ราย ควายก็กำลังอ้วนสบายดี


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง "การพัฒนาเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์ปี 2556"

 นายจันทร์ รักลีน เจ้าพนักงานสัตวบาลปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง "การพัฒนาเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์ปี 2556" ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2556    โดยได้รับทราบแนวทางการพัฒนาเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดี และหลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของเกษตรกร ท้ายสุดได้ระดมสมองเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานระดับอำเภอทั้ง 5 อำเภอของจังหวัดเชียงราย ได้แก่ อ.เมือง,พาน,แม่สาย,เชียงของ เวียงเชียงรุ้ง พร้อมด้วยคุณอรอนงค์ พิมคำไหล นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งร่วมงานพิธีทานหาแม่ฟ้าหลวง

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ร่วมเดินขบวนถวายพานพุ่ม ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จย่า แม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ไร่แม่ฟ้าหลวง บ้านป่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย


วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ปศุสัตว์เวียงเชียงรุ้งร่วมออกหน่วยอำเภอยิ้มเคลื่อนที่

 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งโดยนายสุพล ปานพาน นายจันทร์ รักลีน ร่วมออกบริการสุขภาพสัตว์ ในโครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ประจำเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่บ้านดอยศิริมงคล หมู่ที่ ๗ ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย  พร้อมกับหลายๆหน่วยงานที่ต่างก็ออกมาบริการในส่วนของแต่ละหน่วยงาน  เมื่อเช้าวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖ มีประชาชนจาก ๔ หมู่บ้านไกล้เคียงมารับบริการ มีการแจกผ้าห่ม และออกเยี่ยมแจกถุงยังชีพของกิ่งกาชาดให้กับผู้พิการด้อยโอกาส ทั้ง ๔ หมู่บ้าน ๒๐ ราย
 ลงบัญชีผู้มารับบริการ
 บริการฉีดยาถ่ายยาบำรุง
 ให้คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์
 ประชาสัมพันธ์งานที่มาบริการ
 ผู้มารับบริการส่วนมากมีอายุ คนหนุ่มน่าจะไปทำงาน ทำนาตามปกติ

 ฉีดยาถ่ายพยาธฺิ
 มีบริการตัดผมจากโรงเรียนเสริมสวยเกศศิริน
 มีการประชาสัมพันธุ์ไก่พันธุ์ดี ประดู่หางดำที่กรมปศุสัตว์สร้างพันธุ์และส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงเป็นอาชีพ
 พ่อพาลูกมาดู่ไก่ประดู่หางดำ
 ปศุสัตว์อำเภอร่วมแจกผ้าห่ม 
(..หน้าฝนแจกผ้าห่มน่าจะเรียกผ้าห่มกันฝนนะครับ..)
 และถุงเครื่องบริโภคของกิ่งกาชาดอำเภอเวียงเชียงรุ้งที่เตรียมนำมอบเยี่ยมผู้พิการด้อยโอกาสในพื้นที่ครับ