วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ตรวจประเมินฟาร์มสุกรเพื่อนำเข้าเลี้ยงใหม่



 เมื่อวันที่ 16  พฤศจิกายน 2564 ทีมงานสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายนำโดยนายสัตวแพทย์ภานุวัฒน์ ราชคม กลุ่มพัฒนาสินค้าปศุสัตว์ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทชีพี ปฏิบัติงานตรวจประเมินฟาร์มสุกรเพื่อนำเข้าเลี้ยงใหม่จำนวน 2 ฟาร์ม ที่บ้านเด่นสันทราย ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย มีนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงงเชียงรุ้งร่วมด้วย














"สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งตรวจเยี่ยมติดตามผู้ประกอบการร้านขายอาหารสัตว์"


เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และสำนักงานประมงอำเภอเวียงเชียงรุ้งโดยนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอ นายจิระพัฒน์ สัมมะวัฒนา ประมงอำเภอ พร้อมกับทีมงาน เจ้าหน้าที่บริการช่วยงานด้านสัตวแพทย์ ออกตรวจเยี่ยมติดตามร้านขายอาหารสัตว์ ประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมส่งมอบใบอนุญาตขายอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะ ตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 เพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย ในเขตพื้นที่ 3 ตำบล รวมจำนวน 28 แห่ง โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการในพื้นที่เป็นอย่างดี















วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

“ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมนมโรงเรียน ตำบลป่าซาง ”

วันที่ 5 พศจิกายน   2564   นายสุพล  ปานพาน  ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง มอบหมายให้นางสาวสุภิชญา นัยติ๊บ ผู้ช่วยงานด้านสัตวแพทย์ และนางยุพา คำสมุด จ้างเหมาด้านการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคระบาดสัตว์  ตรวจเยี่ยมนมโรงเรียน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน บ้านห้วยห้าง หมู่7  ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงรายจำนวน นักเรียนที่ได้รับนมโรงเรียน จำนวน 66 คน และโรงเรียน บ้านหมากเอียก หมู่ 14  ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย จำนวนนักเรียนที่ได้รับนมโรงเรียน จำนวน 101 คน นมที่ได้รับเป็นนมกล่อง UHT จึงไม่มีปัญหาด้านการจัดเก็บเรื่องความเย็น จากการตรวจเยี่ยมได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของนมเบื้องต้น เช่น สี กลิ่น  ไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างไร ได้รับการต้อนรับและประสานงานจากเจ้าหน้าที่โรงเรียนทั้งสองแห่งเป็นอย่างดี 








                                                

ข่าวประชาสัมพันธ์​ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

“ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ลงพื้นที่ทำวัคซีน โรคปากและเท้าเปื่อย ในแพะ ”

วันที่ 9 พฤศจิกายน   2564   นายสุพล  ปานพาน  ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง มอบหมายให้นายจันทร์ รักลีน เจ้าพนักงานสัตวบาลและนางสาวสุภิชญา นัยติ๊บ ผู้ช่วยงานด้านสัตวแพทย์ ทำการลงพื้นที่ทำวัคซีน โรคปากและเท้าเปื่อยใน แพะ ของมาลาฟาร์ม  หมู่ 3 ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับการรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมชนิดแพะ (GFM) จำนวนแพะทั้งหมด 36 ตัว  ได้ทำการตรวจสุขภาพแพะก่อนทำวัคซีน แนะนำการทำวัคซีนตามตาราง การถ่ายพยาธิ การบันทึกข้อมุล การพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ การจัดการสุขาภิบาลโรงเรือน ตลอดถึงแปลงหญ้าที่เป็นแหล่งอาหารของแพะ หลักจากการทำวัคซีน ได้สังเกตอาการของแพะไม่พบอาการแพ้วัคซีนแต่อย่างใด







                                                

ข่าวประชาสัมพันธ์​ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

“ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ลงพื้นที่ทำวัคซีน โรคปากและเท้าเปื่อย และประชาสัมพันธ์โรคลัมปีสกิน ในพื้นที่ ดงมหาวัน ”

วันที่ 10 พฤศจิกายน   2564  นายสุพล  ปานพาน  ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง มอบหมายให้นายจันทร์ รักลีน เจ้าพนักงานสัตวบาลและนางสาวสุภิชญา นัยติ๊บ ผู้ช่วยงานด้านสัตวแพทย์ ทำการลงพื้นที่ทำวัคซีน โรคปากและเท้าเปื่อยใน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้เรื่องโรคลัมปีสกิน ในพื้นที่ หมู่ 6 บ้านป่าตึง ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย จำนวนโค 13 ตัว เกษตรกรจำนวน 2 ราย   การจัดการโรงเรือน แนะนำให้ทำการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ และเฝ้าระวังโรคลัมปีสกิน โรคปากและเท้าเปื่อย หากพบสัตว์ป่วยผิดปกติให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอทันทีหลังจากได้ทำวัคซีน ได้สังเกตอาการของโค ไม่พบอาการแพ้วัคซีนแต่อย่างใด









วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ว่าด้วยกลุ่มดีเด่นด้านปศุสัตว์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง

 

ประวัติกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ดีเด่น


          ระดับจังหวัด/ระดับเขต/ระดับชาติ ประจำปี 2565

·       ชื่อกลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงกระบือเพื่อการอนุรักษ์บ้านโป่ง

·       จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 21  เดือน  เมษายน  พ.ศ. 2558  รวม  7  ปี

·       ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับกรมปศุสัตว์ วันที่ 5   เดือน   ตุลาคม   พ.ศ. 2559

·       เลขทะเบียนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ 59-5-57-14-2-5984

·       ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงานอื่น (โปรดระบุหน่วยงาน) (ไม่มี)

·       เลขทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงานอื่น (ไม่มี)

·       สมาชิกเริ่มจัดตั้ง จำนวน  17  คน สมาชิกปัจจุบัน จำนวน   17    คน

·       ชนิดปศุสัตว์ของกลุ่มที่เลี้ยง

1.          กระบือ มีจำนวน   173   ตัว ปัจจุบันกระบือมีทั้งหมด จำนวน  173    ตัวแยกเป็น                 เพศเมีย จำนวน   129    ตัว เพศผู้ 44 ตัว

·       อาชีพหลักของสมาชิก ทำนา ทำสวน

·       อาชีพเสริมของสมาชิก เลี้ยงกระบือ , ค้าขาย

·       อาชีพที่สร้างรายได้หลักให้สมาชิกมากที่สุด ทำนา

·       ชื่อประธานกลุ่ม    นายเฉลิม  สุขเกษม     โทรศัพท์ 08-7728-4639

·       ที่ทำการกลุ่มเลขที่ 51 หมู่ที่ 15 บ้านโป่งพัฒนา ตำบลทุ่งก่อ อำเภอ เวียงเชียงรุ้ง                จังหวัด เชียงราย โทรศัพท์ 08-7728-4639


·       ผลงานดีเด่น รวม 5 กิจกรรม (ทุกกิจกรรมต้องบรรยายสรุปพร้อมภาพประกอบ)

1. กิจกรรมความคิดริเริ่ม

      เนื่องด้วยนายเฉลิม สุขเกษม ประธานกลุ่มเคยเป็นอาสาปศุสัตว์ที่มีหัวก้าวหน้าเคยรวมกลุ่มอาสาปศุสัตว์ประจำตำบล และระดับอำเภอมาแล้ว เคยได้รับคัดเลือกเป็นอาสาปศุสัตว์ดีเด่นของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เมื่อทราบข่าวการอนุรักษ์กระบือโดยการสนับสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จึงรวบรวมสมาชิกในหมู่บ้านที่เลี้ยงกระบือมาตั้งกลุ่มจนทำให้กลุ่มสามารถจบโครงการอนุรักษ์รอบแรกได้อย่างดี โดยใช้ตลาดนำมีร้านขายเนื้อโค กระบือของกลุ่ม  กลุ่มฯ มีการจัดทำทะเบียนประวัติสัตว์ของกลุ่มฯไว้เป็นรูปเล่มที่สัมพันธ์กับทะเบียนประวัติสัตว์ของสำนักงานปศุสัตว์เภอเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งประกอบด้วยชื่อ-สกุล ของสมาชิกแต่ละรายพร้อมรูปภาพประกอบ หมายเลขบัตรประจำตัว หมายเลขสัญญายืมกระบือ ที่อยู่ มูลค่ากระบือที่ยืม วันรับมอบกระบือ วันครบสัญญายืม พิกัด GPS ฟาร์ม หมายเลขโทรศัพท์ของสมาชิกผู้ยืม หมายเลขประจำตัวกระบือที่ยืมพร้อมรูปถ่าย ประวัติการทำวัคซีนหรือถ่ายพยาธิ รวมทั้งวันเกิดลูกกระบือตัวที่ 1 พร้อมภาพถ่าย และมีการประชุมกลุ่มฯเป็นประจำทุกเดือน เพื่อปรึกษาหารือระบบการเลี้ยง แนวทางการพัฒนากลุ่ม การออม การควบคุมป้องกันโรค การเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติต่างๆ ฯลฯ รวมทั้งมีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง

กลุ่มฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจึงเข้าร่วมโครงการ ธคก. โดยมีนายเฉลิม สุขเกษม เป็นประธานฯ นายสมบัติ วันดี เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆประกอบด้วย ฝ่ายเลขาฯ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการอีก 15 คน รวมคณะกรรมการทั้งหมด 17 คน ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตยใช้เสียงส่วนมากในการดำเนินการต่างๆกลุ่มฯมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับต่างๆของกลุ่มฯขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกฯทุกคนปฏิบัติโดยยึดหลัก ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์มีการจัดตั้งกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อให้สมาชิกฯทุกคนได้ออมทรัพย์  โดยยึดหลัก ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด เก็บออม และมีคุณธรรม มีการจัดทำสมุดเงินฝากสำหรับสมาชิกฯเป็นรายบุคคล ซึ่งเงินออมดังกล่าวได้นำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่มและให้สมาชิกกลุ่มกู้เพื่อลงทุนปรับปรุงฟาร์มหรือบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อครอบครัวประสบปัญหาสภาพคล่อง โดยเปิดให้สมาชิกฯกู้ทั้งแบบกู้สามัญและฉุกเฉิน คิดดอกเบี้ยกับสมาชิกในอัตราต่ำ ทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในกลุ่มฯอย่างสม่ำเสมอ โดยปัจจุบันมีเงินสดตามสมุดคุมเงินสดของกลุ่มฯ(ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2564) จำนวน 84,723 บาท (แปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยยี่สิบสามบาทถ้วน)   

2. กิจกรรมความสามารถในการบริหารและการจัดการ

-          ดูการจัดการและเริ่มให้คำแนะนำการดูแลจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จากเดิมกลุ่มได้รับ กระบือโครงการอนุรักษ์กระบือ จำนวน 20 ตัว สามารถต่อยอดการตลาดโดยมีร้านขายเนื้อของกลุ่มจัดการชำแระขายอาทิตย์ละ 2 วัน มีการออมของสมาชิกเดือนละ200บาทต่อราย และมีการริเริ่มมี"ธนาคารขี้ควาย" และต่อมาทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอได้เห็นความสามัคคีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์บ้านโป่งพัฒนา จึงได้ยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุน เครื่องอัดฟางจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างมูลค่าฟางข้าวที่เผาทิ้งมาเป็นอาหารสัตว์แก้ไขปัญหาหมอกควัน จากที่นาของสมาชิกและชุมชนในพื้นที่ไกล้เคียงกว่า4500ไร่ ลดต้นทุนด้านอาหารสำรองหน้าแล้งของโค กระบือรวมทั้งช่วยเสริมสร้างกลุ่มมีได้รายได้จากการขายฟางอัดฟ่อน เพิ่มจากเดิม ด้วย

-           กลุ่มฯมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับต่างๆของกลุ่มฯขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกฯทุกคนปฏิบัติโดยยึดหลัก ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์

3. กิจกรรมการมีบทบาทและมีส่วนร่วมของสมาชิก

                   3.1 การมีส่วนร่วมกับชุมชน หรือสำนักงานปศุสัตว์ฯ ได้รับเป็นวิทยาร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เป็นตัวแทนในการอบรมอาสาปศุสัตว์ ด้านการทำวัคซีนในสัตว์ให้กับอาสา 3 ตำบล    

3.2 สมาชิกได้รับกระบือจากโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ในวันที่ 27 เมษายน 2561 จำนวนกระบือ 17 ตัว เกษตรกร 17 ราย (1 ราย/1 ตัว

 3.3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโป่ง ได้จัดให้สมาชิกทำโครงการ ธนาคารขี้ควายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มร่วมสร้างรายได้ และมีการพัฒนาหารือในกลุ่ม


4 .กิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์บ้านโป่ง ได้ร่วมกันนำฟางมาอัดก้อนเพื่อนำแบ่งปันสมาชิกในกลุ่ม ลดต้นทุนค่าใช่จ่าย สมาชิกพร้อมใจกันในการทำฟางอัดมาใช้ภายในกลุ่มสมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อลดการเผาฟาง ลดหมอกควันพิษในอากาศ   นอกจากนั้นการมีธนาคารขี้ควายยังส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยที่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ทั้งยังสร้างรายได้อีกด้วย

เยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านดงชัย

 









ชื่อกลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย

ที่ตั้งกลุ่ม บ้านดงชัย  หมู่ 2 ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

          1.ข้อมูลทั่วไป

                   1.1 สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขากับแม่น้ำกกและพื้นที่ทำนาในเขตชลประทาน  

                   1.2 สภาพเกษตรกร เป็นคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดลำพูนเมื่อ100กว่าปีมาแล้ว อาชีพหลักคือการกสิกรรม  ทำสวน ทำไร่ ทำนา เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับประรด ยางพารา ปาล์ม ลำไย และพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล มีการใช้สารเคมีในการเกษตรจำนวนมาก ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง ไก่ชน ไก่กระประดู่หางดำ(ที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาส่งเสริมไว้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มฯ )ห่าน เป็ด ไก่งวง โคเนื้อ กระบือ ผลผลิตการเกษตรที่เกษตรกรปลูกเองสามารถนำมาทำอาหารสัตว์ได้ เช่นรำ ข้าว มันสัมปะหลัง ข้าวโพด ชื้อกันเองในชุมชนก็ไม่แพง  ถูกกว่าที่ชื้อจากร้านค้า  ทั้งหมู่บ้านและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดอยพระบาททุ่งก่อที่มีจุดชมวิวท้องทุ่งนาที่สวยงาม เป็นจุดรวมขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของOTOP ที่พัฒนาชุมชนสนับสนุน เช่น พันธุ์ข้าวสร้างรายได้สู่ชุมชนได้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปไก่นิลเวียงเชียงรุ้ง มีน้ำชลประทานที่มีมากพอใช้ทั้งปี ประชากรในหมู่บ้านมีความขยันทำมาหากินมีโรงเรียนวัดดงชัยเป็นแหล่งความรู้สอนพระเณรในพื้นที่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ที่มีความสวยงามเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน







สภาพการตลาด

การผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในหมู่บ้านดงชัยจะเป็นการขายไก่เป็นให้พ่อค้าคนกลางนำไปเชือดขายและมีสมาชิกบางรายก็มีการเชือดเองในครัวเรือนแล้วนำไปขายตลาดชุมชน

พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นไก่ประดู่หางดำ ไก่พื้นเมืองทั่วไป แต่ไก่ประดู่หางดำพ่อค้าไม่ค่อยชื้อถ้าชื้อก็กดราคา จึงปรับมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองก่อนการระบาดโควิด19 ไก่ที่เลี้ยงในชุมชนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล(ห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม)มีความต้องการมากต้องหาซื้อจากต่างหมู่บ้าน มาทำพิธีต่างๆ  ในหมู่บ้านมีพ่อค้าคนกลางรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่นด้วย แต่ในช่วงเกิดโรคโควิด 19 พ่อค้าได้หยุดการรับซื้อไก่เนื่องจากจุดผ่อนปรนชายแดนปิด สมาชิกบางคนก็เลิกผลิตขายเลี้ยงไว้เพียงพอกินในครอบครัว  อย่างไรก็ตามยังมีสถานที่คอกเล้าโรงเรือนที่ได้มาตรฐานสามารถนำลูกไก่จากเครือข่ายของนายสุรพงค์ มณีวรรณ อำเภอขุนตาลมาขุนได้ตลอด ขอเพียงตลาดมีความต้องการเพิ่ม ชายแดนมีการเปิดขายตามปกติ

 

พืชอาหารสัตว์ในพื้นที่

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย มีพืชอาหาร ได้แก่ รำ ข้าว ปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด หยวกกล้วย มันสำประหลัง ปลูกเองทำให้ราคาถูกกว่าไปชื้อร้านค้าซึ่งราคา10ถึง12บาทต่อกิโลกรัม เศษวัสดุการเกษตรเช่นแตงกวาตกเกรด สับประรด  ส่วนอาหารสำเร็จรูปต้องชื้อจากร้านค้า

สภาพปัญหาการเลี้ยง

ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปแพง การตลาดที่ไม่แน่นอน ขายไม่ได้ราคาที่เหมาะสม ทำให้การวางแผนเลี้ยงอย่างเป็นระบบทำได้ยาก

เป้าหมายการตลาด 

สำหรับไก่พื้นเมือง สมาชิกกลุ่มมีการขุนขายเครือข่ายอำเภอขุนตาล ,ส่งพ่อค้าตลาดบ้านดู่ และพ่อค้าชายแดนเชียงแสน

ไก่พื้นเมือง ยังมีเป้าหมายสำหรับเครือข่ายและช่วงเทศกาล จำนวนประมาณ 13,000 ตัว ต่อปี

พฤศจิกายนถึงมีนาคม

ต้องการสูงประมาณไก่เป็น6000ตัว

เมษายนถึงตุลาคม

ความต้องการสูงประมาณไก่เป็น7000ตัว

 

ระบบการเลี้ยงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย

 เป็นแบบแม่ฟักธรรมชาติทั้งหมดและใช้ลูกไก่จากตู้ฟักเครือข่ายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง(นายประสงค์ อุ่นติ๊บ)และกลุ่มอำเภอขุนตาล (นายสุรพงค์ มณีวรรณ)

แผนพัฒนาต่อไปของกลุ่ม

คือสร้างความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มสร้างแหล่งเรียนรู้จำนวน 5 รายเป็นต้นแบบ และสมาชิกอีก 10 ราย เพื่อให้ได้ผลผลิตไก่พื้นเมืองที่ตลาดต้องการได้จำนวนสม่ำเสมอ  ตอบสนองต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และไก่พื้นเมืองต้องการพัฒนาการเลี้ยงด้วยความรู้การจัดการอย่างเป็นระบบลดต้นทุน ให้ไก่ตายน้อยจากโรค และมีการวางปฏิทินการผลิตให้เหมาะสมกับตลาด สามารถมีไก่เพียงพอในช่วงเทศกาลประเพณีของแต่ละปี  สร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชนอีกอาชีพหนึ่ง เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดทุกกลุ่มในเชียงราย ทั้งชายแดนที่ส่งเมียนมาร์  ส่งสปป.ลาว

วางแผนทำผลิตภัณฑ์จากไก่ประดู่หางดำที่เป็นอัฒลักษณ์ของกลุ่มฯโดยใช้ฟาร์มที่มีความพร้อมจำนวน 3 ฟาร์ม ส่งกลุ่มแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเพื่อจำหน่ายที่ร้านค้าของศูนย์เรียนรู้ฯ แหล่งท่องเที่ยว และร้านทั่วไป

การแก้ไขปัญหาของกลุ่มในช่วงโควิด 19

กลุ่มฯ มีการลดการเลี้ยงและหยุดบ้างในบางรายที่ไม่มีทุนจะซื้ออาหาร บางรายก็ใช้ข้าวโพด ข้าวเปลือก หยวกกล้วย เลี้ยงไว้พอประทัง ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนเลี้ยงเอาไว้กินในครัวเรือน เพราะรายได้ต่างๆ จากลูกหลานส่งมาให้ก็ไม่มี เนื่องจากตกงานล็อกดาวน์ การเกษตรสินค้าก้อราคาต่ำ

เยี่ยมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง

ชื่อกลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง

ที่ตั้งกลุ่ม บ้านห้วยห้าง  หมู่ 7 ตำบลป่าซาง  อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

          1.ข้อมูลทั่วไป

                   1.1 สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 420 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ เป็นต้น และมีป่าไม้ที่อุดมสมบรูณ์ ตำบลป่าซางมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ป่าชุมชน   มีแม่น้ำแม่เผื่อเป็นแม่น้ำสายหลักและมีลำห้วยในบางพื้นที่  เป็นพื้นที่ราบอยู่อกเขตชลประทานในช่วงฤดูร้อนมีน้ำน้อย จึงทำนาได้ครั้งเดียว ผลผลิตจากข้าวไม่มากแค่พอกิน เหลือขายเพียงเล็กน้อย เมื่อมีนโยบายปลูกยางพาราทำให้ที่ดินตามเชิงเขาถูกปรับเป็นสวนยางพาราไป  แต่ก็ยังมีส่วนที่มีกล้วยป่าจำนวนมาก เหมาะสำหรับเอามาทำหยวกหมักเลี้ยงไก่ได้ มีแหล่งท่องเที่ยวได้แก่น้ำตกตาดสายรุ้ง

                   1.2 สภาพเกษตรกร เป็นคนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สมาชิก 7 รายที่ประกอบ อาชีพหลักคือการกสิกรรม  ทำนา ทำสวน ทำไร่ เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับประรด ยางพารา เงาะ ลองกอง ลำไย และพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล มีการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย  ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง ไก่ชน ไก่ประดู่หางดำ(ที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาส่งเสริมไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน ) เป็ด โคเนื้อ กระบือ  ผลผลิตการเกษตรที่เหลือเกษตรกรปลูกเองสามารถนำมาทำอาหารสัตว์ได้ เช่น รำ ข้าว มันสัมปะหลัง ข้าวโพด ชื้อกันเองในชุมชนก็ไม่แพง  ตามแนวป่ามีกล้วยป่าจำนวนมาก  มีโรงฆ่าไก่ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปไก่ประดู่หางดำแช่แข็งส่งร้านอาหารประจำในตัวเมือง  

สภาพการตลาด

การผลิตไก่พื้นเมืองของ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง จะเป็นการขายไก่เป็นให้พ่อค้าคนกลางนำไปเชือดขายและมีสมาชิกนัดรวมกลุ่มรวบรวมไก่แล้วมีการเชือดแช่แข็ง แล้วนำไปขายตลาดชุมชน ส่งร้านอาหารในตัวเมืองที่สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นไก่ประดู่หางดำ และไก่พื้นเมืองทั่วไป แต่ไก่ประดู่หางดำพ่อค้าไม่ค่อยชื้อถ้าชื้อก็กดราคา จึงปรับมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองก่อนการระบาดโควิด19 ไก่ที่เลี้ยงในชุมชนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล(ห้วงมกราคม)มีความต้องการมากต้องหาซื้อจากต่างหมู่บ้านชนเผ่า มาทำพิธีต่างๆ  ในหมู่บ้านมีพ่อค้าคนกลางรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่น อ.เชียงแสน อ เชียงของ

 แต่ในช่วงเกิดโรคโควิด 19 พ่อค้าได้หยุดการรับซื้อไก่เนื่องจากจุดผ่อนปรนชายแดนปิด สมาชิกบางคนก็เลิกผลิตขายเลี้ยงไว้เพียงพอกินในครอบครัว  อย่างไรก็ตามยังบางรายยังเลี้ยงเหมือนเดิมเพื่อส่งร้านอาหารเพื่อไม่เสียคู่ค้า มีสถานที่คอกเล้าโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน สามารถนำลูกไก่จากเครือข่ายของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง มาขุนได้เป็นรุ่นแบบเข้าหมด ออกหมดได้  ขอเพียงตลาดมีความต้องการเพิ่ม ชายแดนมีการเปิดขายตามปกติ

 

พืชอาหารสัตว์ในพื้นที่

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง มีพืชอาหาร ได้แก่ รำ ข้าว ปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด หยวกกล้วย มันสำประหลัง ปลูกเอง  เศษวัสดุการเกษตร เช่นแตงกวาตกเกรด สับประรด  มาสับให้ไก่ที่โตแล้วอายุ 1 เดือนขึ้นกิน เป็นการลดต้นทุน ส่วนอาหารสำเร็จรูปต้องชื้อจากร้านค้าใช้เลี้ยงลูกไก่เพื่อเสริมสร้างโครงสร้าง

สภาพปัญหาการเลี้ยง

ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปแพง การตลาดที่ไม่แน่นอน ขายไม่ได้ราคาที่เหมาะสม ทำให้การวางแผนเลี้ยงอย่างเป็นระบบทำได้ยาก

เป้าหมายการตลาด 

สำหรับไก่พื้นเมือง สมาชิกกลุ่มมีการขุนขายเครือข่ายอำเภอขุนตาล ,ส่งพ่อค้าชายแดนส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่น อ.เชียงแสน อ เชียงของ

ไก่พื้นเมือง ยังมีเป้าหมายสำหรับเครือข่ายและช่วงเทศกาล จำนวนประมาณ 10,000 ตัว ต่อปี

พฤศจิกายนถึงมีนาคม

ต้องการสูงประมาณไก่เป็น3,000ตัว

เมษายนถึงตุลาคม

ความต้องการสูงประมาณไก่เป็น7,000ตัว

 

ระบบการเลี้ยงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง

 เป็นแบบแม่ฟักธรรมชาติทั้งหมด และใช้ลูกไก่จากตู้ฟักเครือข่ายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง(นายประสงค์ อุ่นติ๊บ) กลุ่มอำเภอขุนตาล (นายสุรพงค์ มณีวรรณ)

แผนพัฒนาต่อไปของกลุ่ม

คือสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกทั้ง 7 ราย เพื่อให้ได้ผลผลิตไก่พื้นเมืองประดู่หางดำที่ตลาดต้องการได้จำนวนสม่ำเสมอ  ตอบสนองต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และเพิ่มการผลิตไก่พื้นเมืองทั่วไปที่ตลาดชายแดนต้องการ พัฒนาการเลี้ยงด้วยความรู้การจัดการอย่างเป็นระบบลดต้นทุน ให้ไก่มีความสมบูรณ์ขนเต็มตามแบบที่พ่อค้าพอใจ และมีการวางปฏิทินการผลิตให้เหมาะสมกับตลาด สามารถมีไก่เพียงพอในช่วงเทศกาลประเพณีของแต่ละปี  เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดทุกกลุ่มในเชียงราย ทั้งชายแดนที่ส่งเมียนมาร์  ส่งสปป.ลาว

วางแผนทำผลิตภัณฑ์จากไก่ประดู่หางดำที่เป็นอัฒลักษณ์ของกลุ่มฯโดยใช้ฟาร์มที่มีความพร้อมจำนวน 3 ฟาร์ม ส่งกลุ่มแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเพื่อจำหน่ายที่ร้านค้าอาหารประจำในเมือง  ร้านค้าขายของฝากแหล่งท่องเที่ยว และร้านทั่วไป

การแก้ไขปัญหาของกลุ่มในช่วงโควิด 19

กลุ่มฯ มีการลดการเลี้ยงและหยุดบ้างในบางรายที่ไม่มีทุนจะซื้ออาหาร บางรายก็ใช้ข้าวโพดบด ข้าวเปลือกบด หยวกกล้วยสับ เลี้ยงไว้พอประทัง เพราะไม่ต้องลงทุนไปชื้อแก้ปัญหาราคาข้าว ข้าวโพดที่ตกต่ำด้วย ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนเลี้ยงเอาไว้กินในครัวเรือน  ทำอาหารจากไก่ขายตลาดชุมชนและขายออนไลน์ในกลุ่มไลน์ขายของชุมชนคนป่าซาง