ช่วงนี้พี่น้องเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรมาแจ้งสุกรป่วยมากกว่าปกติ จึงขอแจ้งเตือนภัยโรคที่เป็นกันมาก
โรคพี อาร์ อาร์ เอส หรือ โรค
เพิร์ส เป็นโรคที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์ และระบบทางเดินหายใจของสุกร
ก่อให้เกิดความเสียหายในแก่สุกรแม่พันธุ์ สุกรอนุบาล และสุกรขุน แม่สุกรผสมติดยาก
เกิดการแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง การตายแรกคลอด เป็นมัมมี่
และทำให้ลูกสุกรเกิดใหม่อ่อนแอ อัตราการเข้าคลอดต่ำ
มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อัตราการตายสูงในลูกสุกรดูดนมและหย่านม
แม่สุกรกลับสัดช้าลง
อย่างไรก็ตามในสุกรบางฝูงอาจไม่แสดงอาการป่วยมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
สามารถติดต่อได้ โดยการกินหรือสัมผัสสุกรป่วยโดยตรง ทางผสมพันธุ์ และที่สำคัญ
คือเชื้อจะปนเปื้อน กับรถขนสุกรหรือซากสุกรได้
เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้จะถูกขับทางน้ำมูก อุจจาระและน้ำเชื้อของสุกรที่ติดเชื้อ
สุกรที่ได้รับเชื้อจะมีอาการ ดังนี้ สุกรหย่านมแสดงอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ
และแม่สุกรแสดงอาการทางระบบสืบพันธุ์ เช่น แท้งลูก และตายแรกคลอด เป็นต้น
นอกจากนี้สุกรจะแสดงอาการป่วย มีไข้ นอนสุมกัน ตัวแดง ไม่กินอาหาร
ส่วนการป้องกันคือ การจัดการฟาร์มและสุขาภิบาลที่ดี
และไม่ใช้วัคซีนป้องกันโรคจากแหล่งผลิตที่ไม่มีการรับรองมาตรฐานเช่นวัคซีนจากประเทศจีน
เนื่องจากอาจมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่และก่อให้เกิดโรคระบาดภายหลังฉีดวัคซีนซึ่งจะก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเกษตรกรอย่างรุนแรงได้
ดังนั้นเกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลปศุสัตว์ของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องการจัดการโรงเรือน หรือคอกสัตว์ที่ดี มีหลังคาป้องกันฝน ลม ละอองฝนได้เป็นอย่างดี มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง และที่สำคัญต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเข้าและออกจากบริเวณฟาร์ม และเข้มงวดเรื่องคนงานในเล้าคลอด ห้ามปะปนกับส่วนอื่น รวมทั้งเข้มงวดเรื่องการฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือน เลือกซื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรกักสัตว์ก่อนนำเข้ารวมฝูง หมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตน หรือใกล้เคียง หากพบเห็นสัตว์ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ต้องรีบแจ้งปศุสัตว์อำเภอทันที เพื่อตรวจสอบโดยเร็ว และลดความเสียหายจากโรคระบาด ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทั่วประเทศให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ให้คำแนะนำดูแลด้านสุขภาพสัตว์ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ข้ามเขตจังหวัด และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด
ดังนั้นเกษตรกรจึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลปศุสัตว์ของตนให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง โดยต้องดูแลในเรื่องการจัดการโรงเรือน หรือคอกสัตว์ที่ดี มีหลังคาป้องกันฝน ลม ละอองฝนได้เป็นอย่างดี มีการจัดเตรียมน้ำ อาหาร ยา และเวชภัณฑ์ให้พร้อม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพสัตว์ให้แข็งแรง และที่สำคัญต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้งเข้าและออกจากบริเวณฟาร์ม และเข้มงวดเรื่องคนงานในเล้าคลอด ห้ามปะปนกับส่วนอื่น รวมทั้งเข้มงวดเรื่องการฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือน เลือกซื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรกักสัตว์ก่อนนำเข้ารวมฝูง หมั่นสังเกตอาการสัตว์เลี้ยงของตน หรือใกล้เคียง หากพบเห็นสัตว์ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ต้องรีบแจ้งปศุสัตว์อำเภอทันที เพื่อตรวจสอบโดยเร็ว และลดความเสียหายจากโรคระบาด ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทั่วประเทศให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ให้คำแนะนำดูแลด้านสุขภาพสัตว์ พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ข้ามเขตจังหวัด และเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น