วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รศ.ดร.ศิริพร กีรติการกุล จากคณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเยี่ยมแนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำเวียงเชียงรุ้ง

รศ.ดร.ศิริพร กีรติการกุล ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจ
เมื่อบ่ายวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๐  รศ.ดร.ศิริพร กีรติการกุล จากคณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อาจารย์ ดร.ภาคภูมิ เสาวภาคย์ คณะสัตวศาสตร์  คคุณณรงค์ วารีรักษ์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ นำนักศึกษามาให้คำแนะนำสาธิตการพัฒนาการเลี้ยง การทำอาหารชุมน การตลาดไก่ประดู่หางดำ แก่กลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงพื้นเมืองประดู่หางดำ พอสรุุปได้ว่า ต้องมีการดำเนินการอยู่ ๔ ส่วน ได้แก่

  1. โรงเชือดที่มีมาตรฐานได้รับการตรวจรับรองจากกรมปศุสัตว์เรียบร้อยแล้ว มี ฆจส.๒  โรงฆ่าต้องเตรียมระบบการทำงานที่ดี(คนงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ มีความพร้อมในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ)
  2. เกษตรกร ต้องมีความมุ่งมั่นและปฎิบัติตามปฏิทินการผลิตอย่างเคร่งครัด แยกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่มีตู้ฟักเลี้ยงเพื่อผลิตลูกไก่ป้อนให้กลุ่มที่ ๒ ที่ทำหน้าที่เลี้ยงขุนไก่ เพื่อให้ได้คุณสมบัติครบในปริมาณตามที่ตลาดต้องการ 
  3. อาหาร ต้องมีการปลูกพืชอาหารสัตว์เอง จัดการให้มีโรงผลิตอาหารสูตรที่จำเป็น สำหรับสมาชิกกลุ่ม เป็นโรงผลิตอาหารสัตว์ชุมชน
  4. ตลาดเป็นปลายอุโมงค์ที่ต้องโชติช่วงชัชวาล โดยผลิตขายในชุมชนส่วนหนึ่ง  และตลาดนอกที่เน้นคุณภาพเนื้อไก่สำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ  เลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่มีความสุขได้แสดงพฤติกรรม ขุ้ยเขียหาอาหาร

การทำอาหารหมัก

หญ้าเนเปียร์ปากช่องหน่ึง เพื่อสับให้วัวกิน ไก่ก็เอาสับให้กินได้เช่นกันแต่ต้องมีอาหารสำเร็จเสสริมกันด้วย ต้องปลูกไว้

ปลูกมันเพื่อเตรียมไว้ทำมันหมักให้ไไก่กิน



การทำอาหารหมักต้องเรียนรู้ ร้อยสี่หนึ่ง ทำอย่างไร

เรียนร้ ร่วมแรงร่วมใจไปด้วยกัน

เหนื่อยนักก็ต้องมีเครื่องมือเทคโนโลยีบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น: