ทั้งนี้การทบ่อหมักก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อยกำลังได้รับการส่งเสริม เพราะมีต้นทุนต่ำและเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสัตว์จำนวนน้อย ซึ่งนอกจากจะบำบัดของเสียออกจากฟาร์มเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถนำก๊าซชีวภาพจากการหมักมาใช้ในการหุงต้มสำหรับครอบครัวขนาด ๔-๕ คน รวมทั้งกากอินทรีย์ที่ได้ก็ผ่านการย่อยสลายแล้วมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย
ปีนี้อาจารย์ทำถุงจากพีอีอย่างหนา แทนถุงพีวีซีอย่างบางแบบเก่าซึ่งน่าจะมีความทนทานได้มากปีกว่า ซึ่งอาจารย์บอกว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีอีกอย่างคือถุงหล่อมาเป็นถุงสำเร็จไม่ได้ทากาวเหมือนของเก่า ข้อเสียคือเวลาขาดหรือรั่วไม่สามารถจะซ่อมเองได้ต้องสละถุงที่ขาดไปเลย หรือถ้ายังไม่ได้เริ่มบ่อหมักแล้วมีรอยรั่ว ก็ส่งกลับโรงงานให้ทำใหม่ได้
- บ่อแรกทำให้นายสุทน คำมา เลี้ยงควายไว้หลายตัว บรรยากาศการทำเป็นไปด้วยดีเกษตรกรรวมกลุ่มกันช่วยกันทำอย่างเต็มที่ เนื่องจากเคยได้ดูการสาธิตของอาจารย์มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนที่แล้ว
ขุดหลุม
วางแผนเตรียมวัสดุ
วางถุงลงในหลุมที่เตรียมไว้เป่าลมด้วยเครื่องพ่นยา
แม่บ้านรวมพลังเข็ญท่อไว้ตรงตำแหน่งหัวท้าย
แผนกช่างปูนโบกปูนยึดท่อและบ่อปูนทางเข้าออกให้คงที่ป้องกันยางรัดขาดเคลื่อนที่
เรียบร้อยรอปูนแห้งเติมมูลสัตว์กับน้ำให้ได้ครึ่งถุงในส่วนที่จมอยู่ในหลุม
- บ่อที่สองของนายดวงติ๊บ วันดี ประธานกลุ่มเคยสร้างมาครั้งหนึ่งแล้วเป็นถุงแบบพีวีซี หมดอายุรั่วไปแล้วคราวนี้ทำใหม่ด้วยถุงพีอีอย่างหนาขนาด ๖ เมตร
ขุดหลุม
วางแผนเตรียมวัสดุ
ผสมปูน
ควายที่จะนำมูลมาสร้างก๊าซชีวภาพกำลังเล่นน้ำ
เครื่องพ่นยาที่ใช้เป่าลมตรวจการรั่ว เป่าได้เร็วมาก สะดวกหาง่าย
ต่ออุปกรณ์ครบยกถุงลงในหลุมที่เตรียมไว้ จากนั้นเติมลมให้เต็ม
การเป่าลมให้ถุงตึงเพื่อตรวจสอบรอยรั่วต่างๆ และป้องกันการพับทับกันของถุงเวลาใส่น้ำลงไปแล้วแก้ไขยาก จากนั้นโบกปูนทับท่อทางเข้าออกให้แน่นแบบเดียวกับบ่อแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น