วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

ไปเยี่ยมป้าบางและลุงหมั้น ถาคำ เกษตรกรเจ้าของศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าการเกษตรเครือข่ายด้านปศุสัตว์

เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๔ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตวอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางยุพา คำสมุทร พนักงานจ้างเหมา ป้องกันโรคสัตว์  ปฏิบัติงานเยี่ยมนายหมั้น ถาคำ เกษตรกรเจ้าของศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าการเกษตรเครือข่ายด้านปศุสัตว์ บ้านประชาร่วมใจ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชีงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ขอชื้อไก่ประดู่หางดำที่นายหมั้น เลี้ยงประจำจำนวน ๘ ตัวเพื่อนำไปขยายผลให้เกษตรกรที่สนใจรายใหม่ ชมการปลูกผักสวนครัว การเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนปิด ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญปีนี้คือนำ้แล้ง ต้องใช้อย่างประหยัด เกษตรกรที่สนใจองค์ความรู้ต่างจากลุงหมั้นสอบถามได้หรือไปเยี่ยมชมดูงานได้ครับ โทร๐๙๙-๔๔๘๘๗๑๒  ลุงหมั้นถือคติ "น้ำบ่อน้ำคลองเป็นรองน้ำใจครับ"


ป้าบาง ถาคำภรรยาลุงหมั้น กับน้องยุพา เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์


ผักสวยงามดีมีปุ๋ยมูลสัตว์ไม่ต้องชื้อ

ชั่งน้ำหนักไก่ขายวันนี้ขายให้หมอราคาพิเศษ
การปลูกผักสวนครัวใช้ปุ๋ยจากแกลบที่รองคอกไก่

รับเงินค่าไก่ประดู่หางดำ





 

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564

"ออกพื้นที่เยี่ยมกลุ่มวิสหกิจชุมชนไก่ประหางคำเวียงเชียงรุ้ง บ้านห้วยห้าง หมู่ที่ 7 ตำบลปาชาง"

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางยุพา คำสมุด พนักงานจ้างเหมางานด้านการฝาระวัง ควบคุม และป้องโรคระบาดสัตว์ ออกพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองรอบที่2/2564 ติดตามสอบถามเรื่องการตลาดไก่พื้นเมือง ในช่วงเกิดโคโควิด 19 ทำให้ทราบว่าทางกลุ่มเกิดปัญหาการตลาดขายไก่ยาก จึงมีแนวทางใหม่ในการพัฒนาระบบส่งเสริมอาชีพปศุสัตว์แบบสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของเกษตรกรรายย่อย เช่น การคิดวิเคราะห์ตลาด , การวิเคราะห์พื้นที่ฟาร์มเลี้ยง วิเคราะห์ความพร้อมของเกษตรกร ,วิเคราะห์การผลิตและการออกแบบ , ติดตามและประเมินผลของกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง , รวบรวมข้อมูล , นำผลวิเคราะห์คืข้อมูลสู่เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้เกษตรกรสามารถทำการจัดการ การตลาดของกลุ่มส่งออกเองได้ ต่อไป ณ.บ้านห้วยห้าง หมู่ที่ 7 ตำบลปาซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย จำนวนเกษตรกร 8 ราย จำนวนไก่พื้นเมือง 476 ตัว จากการลงพื้นที่ได้ความร่วมมือจากกลุ่มลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างเป็นอย่างดี





สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรั้ง จังหวัดเชียงราย

โทร..08 -9838 -1597, E-mail..amp5717@dld.go.th

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564

"ออกพื้นที่ติดตามการส่งคืนลูกตัวที่ 1 อายุครบ 18 เดือน เพศเมีย ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง กระบือบ้านห้วยเคียนใต้ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งก่อ"

วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอ

เวียงเชียงรุ้ง และนางยุพา คำสมุด พนักงานจ้างเหมางานด้านการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์ ออกพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรเพื่อทำเอกสารเตรียมการมอบกระบือขยายเพศเมีย ที่กลุ่มผู้เลี้ยงกระบือบ้านห้วยเคียนใต้ หมู่ที่ 10 ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ทำการส่งคืนลูกตัวที่ 1 อายุครบ 18 เดือน  แล้วการขยายต่อให้เกษตรกรรายใหม่ที่ขอรับความช่วยเหลือจากโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรามพระราชดำริ  โดยได้ทำตามระเบียบของโครงการธนาคารโค-กระบือฯ ตามลำดับต่อไป ทั้งนี่ได้ย้ำระเบียบข้อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ของธนาคารให้เกษตรกรเข้าใจตลอดจน แนะนำส่งเสริมการพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็ง มีรักความสามัคคี รู้จักแบ่งปันเป็นตัวอย่างให้กลุ่มอื่นด้วย




สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

โทร..08 -9838 -1597, E-mail..amp5717@dld.go.th

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

ตรวจเยี่ยมเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรในพื้นที่ ม.7 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

 วันที่ 22 มกราคม 2564 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง นำโดย นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนางสาวสุภิชญา นัยติ๊บ ผู้ช่วยงานสัตวแพทย์ ASF ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรในพื้นที่ ม.7 ต.ทุ่งก่อ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย ได้แก่นางคำปุ่น บุญห่อ ซึ่งมีสุกรทั้งหมด 81 ตัว เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าในการประเมินระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม(GFM)ชนิดสุกรเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานในการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงสุกร ให้เหมาะสม ซึ่งยังคงเหลือ การจัดทำป้าย "ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต, คอกสุกรขุน ,คอกพ่อพันธุ์, คอกแม่พันธุ์, คอกพักสัตว์ป่วย, โรงเรือนเก็บอาหาร ,เตาเผาซาก/ขยะ" ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำ ก่อนที่จะการติดตามการปรับรูปแบบGFMที่เรียบร้อยดีอีกครั้งเพื่อออกใบมาตรฐานดังกล่าวให้ต่อไป







































วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564

ติดตามตรวจสุขภาพของสัตว์โค กระบือที่มีอายุครบ 18 เดือน เพศเมีย จำนวน 5 ตัว ก่อนการส่งมอบให้เกษตรกรรายใหม่

 วันที่ 15 มกราคม 2564 นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง มอบหมายให้นางสาวสุภิชญา นัยติ๊บ เจ้าหน้าที่ ASF และนางยุพา คำสมุด พนักงานจ้างเหมางานด้านเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสัตว์ ลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานติดตามตรวจสุขภาพของสัตว์โค กระบือที่มีอายุครบ 18 เดือน เพศเมีย จำนวน 5 ตัว ก่อนการส่งมอบให้เกษตรกรรายใหม่ ตามข้อระเบียบที่กำหนดของธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ทั้งนี้ได้ส่งต่อให้เกษตรกรที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้พิจารณาตามลำดับ การขอรับความช่วยเหลือ ยืมโด -กระบือ เพื่อผลิตลูก จากธนาคารโส่คกระบือฯ ต่อไป