วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ร่วมกิจกรรมโครงการไถกลบตอชังเพื่อลดเผาและหมอกควัน

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ร่วมกิจกรรมลดหมอกควัน งดการเผาโดยการไถกลบตอชังข้าว ที่บ้านโป่งหมู่ที่15 เมื่อเช้าวันที่ 27/2/2561 มีนายสุพันธ์ แสนบ้าน เกษตรอำเภอเป็นประธานเปิด มีนายสิงห์คำ สิทธิขันแก้ว นายก อบต.ทุ่งก่อ กล่าวรายงาน












อ.ศิริพร กีรติการกุล จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้เยี่ยมสมาชิกเลี้ยงไก่ประดู่เวียงเชียงรุ้ง

เมื่อวันที่25กุมภาพันธ์.  2561 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งนำโดยนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอ ให้การต้อนรับคณะทีมงานของ รศ.ดร.ศิริพร กีรติการกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ หัวหน้าคณะประสานงานโครงการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ที่เดินทางมาเยี่ยมชมกิจกรรมกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเวียงเชียงรุ้ง พร้อมนำนักข่าวช่างภาพจาก สกว.มาถ่ายทำขบวนการเลี้ยงตั้งแต่เกิดไปจนถึงตลาดผู้บริโภคด้วย เพื่อประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของโครงการฯ









วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับจังหวัดเชียงราย

 เมื่อเช้าวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น.นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ร่วมให้การต้อนรับ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับจังหวัดเชียงราย ที่เดินทางมาตรวจเยี่ยมการดำเนินการ kick off ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง ทั้ง 3 ตำบล ประกอบด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนระดับตำบล ร่วม kick off หมู่บ้านนำร่องในพื้นที่ อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

โครงการฝึกอบรมเกษตรกรแบแปลงใหญ่ไก่พื้นเมือง

 
 เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธุ์ ๒๕๖๑ อำเภอเวียงเชียงรุ้งอบรมความรู้เรื่องการจัดการฟาร์มที่ดี GFM โดยทีมงานวิทยากรนำโดยนางสาวอรอนงค์ พิมคำไหล นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ หน. ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย   ณ ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร บ้านดงชัย ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย และตอนบ่ายเสวนาการจัดการระบบปฏิทินการรับเลี้ยงลูกไก่จากศูนย์ผลิตลูกไก่ แลกเปลี่ยนการไปดูงานที่ขอนแก่น เพชรบุรี ตลอดจนการไปฝึกฝนการตลาดที่กาดแม่โจ้





 









วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เยี่ยมเก็บข้อมูล ฐปศ.เกษตรกรบ้านดงป่าสัก ตำบลทุ่งก่อ

เมื่อเช้าวันที่ 16  กุมภาพันธ์ 2561 สำนักงานปุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยนางยุพา คำสมุด ผู้ช่วยสัตวแพทย์และนายหริพันธุ์ มณีจันสุข พนักงานจ้างเหมาเฝ้าระวังไข้หวัดนก ได้รับมอบหมายให้ออกพื้นที่เคาะประตูบ้านเกษตรกร เพื่อแจกจ่ายน้ำยาฆ่าเชื้อ แนะนำการจัดการ แนะนำการทำวัคซีนในไก่ และตรวจจับพิกัด GPS ระบุที่ตั้งฟาร์ม ณ.บ้านดงป่าสัก หมู่ที่ 8 ต.ทุ่งก่อ จำนวนเกษตรกร 24 ราย จำนวนไก่ 270 ตัว จำนวนเป็ด 4 ตัว ตรวจสอบแล้วไม่พบสัตวืปีกป่วยตายผิดปกติ
  


อบรมอาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน

สนง.ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จัดการอบรมทบทวนความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ขายสัตว์ ซากสัตว์ ตลอดจนโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลที่กรมปศุสัตว์รับผิดชอบ ให้อาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้านในพื้นที่ เมื่อเช้าวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561ณ ห้องประชุมอำเภอเวียงเชียงรุ้งเชิญนายทิวากร บำรุงรส ปศุสัตว์อำเภอดอยหลวงมาเป็นวิทยากร มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมจำนวน 36คน โอกาสนี้มอบเสื้อยืดเป็นของขวัญวันแห่งความรัก เพื่อสมัครสมานสามัคคีปรองดองของชมรมอาสาปศุสัตว์เวียงเชียงรุ้ง


ปฎิบัติงานตรวจโรงฆ่าสัตว์

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง, ตาราง, ต้นไม้ และ สถานที่กลางแจ้งเมื่อบ่ายวันที่14 กุมภาพันธุ์ 2561 สนง.ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกปฎิบัติงานตรวจโรงฆ่าสัตว์ ร่วมกับเจ้าหน้าสนง.ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย(นายวีระพงค์ สวยสม. ) ที่เทศบาลตำบลบ้านเหล่าและตรวจที่โรงฆ่าสัตว์ปีกชุมชนบ้านห้วยห้าง ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการอย่างดีครับ
ในภาพอาจจะมี 4 คน
ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่มในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

งานวิจัยลงสู่ชุมชนเกษตรกร

คลิกที่รูปอ่านข่าวทั้งหมดครับ
รศ.ดร.ศิริพร กิรติการกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ แนะนำว่า ควรมีองค์ประกอบของการสร้างอาชีพ 4 อย่าง คือ 1. มีพันธุ์ที่ดี สร้างแผนการผลิตที่เป็ปฏิทินการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐาน 2. ใช้อาหารจากธรรมชาติ ที่หาได้จากพื้นที่ เพื่อลดต้นทุน 3. ระบบการเลี้ยงได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและลดความเสี่ยงการเกิดโรค 4.มีตลาดรองรับและความสามารถในการแปรรูป
ทั้งนี้ องค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง นี้ เกษตรกรคนเดียวไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นควรมีการรวมกลุ่มขึ้นมาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นำความรู้มาบูรณาการเพื่อสร้างอาชีพจากไก่ต่อไป รศ.ดร.ศิริพร