วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อบรมกลุ่มมิตรสัมพันธ์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เรื่องการเลี้ยงไก่

นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง นายจันทร์ รักลีน เจ้าหน้าที่สัตวบาล เป็นวิทยากรอบรมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้กลุ่มมิตรสัมพันธ์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จำนวน ๓๑ ราย เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และโชคดีที่อาจารย์ ดร.สุรีพร กีรติการกุล จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มาเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไก่บ้านห้วยห้างมาแวะจึง ได้เสริมให้ความรู้การตลาดเสริมให้กลุ่มมิตรสัมพันธ์เพิ่มเติม ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
อาจาย์สุรีพร กีรติการกุล แนะนำการสร้างตลาดอย่างยั่งยืน

นางรัตนัย โสภารัตน์ ประธานกลุ่ม แนะนำวิทยากรและประสานงานในกลุ่มให้มาร่วมพัฒนาอาชีพร่วมกัน สร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นำเกษตรกรกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองศึกษาดูงาน

 นางพรพิมล ใจไหว นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ กลุ่มพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่สำหรับเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย นำเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯจำนวน ๗ คนเดินทางไปศึกษาดูงานที่สถานีวิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์จังหวัดพะเยาในช่วงเช้าและที่ประยูรฟาร์ม บ้านหนองผักจิก ตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในช่วงบ่าย วันที่  ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖
นายชยุต ดงปาลีธรรม์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าสถานีวิจัยทดสอบพันธุ์สัตว์พะเยาแนะนำสถานีและเส้นทางแนวโน้มความสำคัญของอาชีพการเลี้ยงไก่ ตลอดจนการจัดระบบมาตรฐานฟาร์ม
นายสะอาด ชาวเวียง นักวิชาการสัตวบาล วิทยากรบรรยายการเลี้ยงไก่ในสถานีและนำเข้าชมการจัดการการเลี้ยงไก่



วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

งานโชว์ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ปะทะโคเนื้อโลไลแองกัสในงานสับประรดนางแล ภูแล ลิ้นจี่ และของดีเมืองเชียงราย

รมช.พาณิชย์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ เป็นประธานเปิดงานสับปะรดนางแล ภูแล และลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงราย ประจำปี 2556
รมช.พาณิชย์ นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ เป็นประธานเปิดงานสับปะรดนางแล ภูแล และลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงราย ประจำปี 2556



การจัดงานวันสับปะรดนางแล ภูแล และลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงรายเพื่อส่งเสริมสร้างรายได้แก่ชาวสวนในวันที่ 24 พฤษภาคม – วันที่ 2 มิถุนายน 2556 นี้ที่บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก อำเภอเมืองเชียงราย



นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานสับปะรดนางแล ภูแล และลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงราย ประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 เวลา 18.30น.ที่บริเวณสวนไม้งามริมน้ำกก ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวงเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย โดยนางสลักจฤฎดิ์(สลักจิต) ติยะไพรัช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย กล่าวรายงานว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ร่วมกับ เทศบาลตำบลบ้านดู่ เทศบาลตำบลนางแล เทศบาลตำบลท่าสุด สมาคมชาวสวนลิ่นจี่ และชมรมชาวสวนสับปะรดจังหวัดเชียงราย จัดงานวันสับปะรดนางแล ภูแล และลิ้นจี่ ของดีเมืองเชียงราย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 พฤษภาคม2556 – วันที่ 2 มิถุนายน 2556 นี้รวมการจัดงาน 10 วัน 10 คืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปรู้จักสับปะรดพันธุ์นางแล พันธุ์ภูแลของดีเมืองเชียงราย ทั้งในประเทศและต่างประเทศยังเป็นการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และด้านการตลาดให้กับเกษตรกรชาวสวน ผู้ปลูกสับปะรดและลิ้นจี่จังหวัดเชียงราย ภายในงานจัดประกวดผลผลิตทางการเกษตร สับปะรด ลิ้นจี่ กล้วยน้ำหว้า กล้วยหอม ฟักทอง ขนุน จัดการประกวดธิดาชาวสวน จัดประกวดแด๊นเซอร์ จัดประกวดรำวงย้อนยุค จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของดีจังหวัดเชียงรายและจำหน่ายสินค้าโอท็อปพร้อมการแสดงบนเวทีอีกด้วย
ในงานนี้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งได้เข้าร่วมกิจกรรมนำไก่ประดู่หางดำไปจำหน่ายและโชว์ให้เป็นที่รู้จักของเกษตรกรชาวเชียงรายให้มากยิ่งขึ้น  ส่วนสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายได้เชิญชมรมโคเนื้อเชียงราย คุณนเรศ รัศมีจันทร์ นำโคเนื้อพ่อพันธุ์โลว์ไลน์แองกัสมาโชว์ แนะนำให้เกษตรกรที่สนใจได้ชมอีกด้วย ตอนค่ำมีงานปิ้งย่างเนื้อโคขุนให้ได้ชิมอีกด้วย
รูปภาพ 
โคเนื้อพันธุ์ โลว์ไลน์แองกัส 
นายนเรศ รัศมีจันทร์ ผู้จัดการ “เชียงราย ฟาร์ม” ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 104 ไร่ ม.1 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย เปิดเผยว่าตนได้เริ่มตั้งเชียงรายฟาร์มมาตั้งแต่ปี 2548 จากการเลี้ยงวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน เพื่อจำหน่ายลูกและน้ำเชื้อ แต่ในปัจจุบันได้แนวคิดใหม่ด้วยการนำเข้าพ่อวัวจากประเทศออสเตรเลีย โดยมีชื่อพันธุ์คือโลว์ไลน์ แองกัส ซึ่งเป็นวัวพันธุ์เนื้อที่มีอยู่ในประเทศไทยแค่ 5 ตัว แต่ที่เชียงรายฟาร์มมีจำนวน 2 ตัว น้ำหนักตัวละประมาณ 600 กิโลกรัม สาเหตุที่เลี้ยงพันธุ์นี้เพราะเป็นพันธุ์พิเศษที่ให้เนื้อกว่า 60-70% และมีซากหรือกระดูกน้อยมาก รวมทั้งเป็นพันธุ์ที่ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อยกว่าโดย 1 ไร่สามารถเลี้ยงได้ถึง 6-8 ตัว เพราะเป็นวัวพันธุ์ที่ไม่ค่อยเดินไปไหนไกลหรือชอบหากินในระยะใกล้ๆ ขณะที่พันธุ์อื่นๆ สามารถเลี้ยงได้เพียง 2 ตัวนายนเรศ กล่าวว่าที่ผ่านมาเชียงรายฟาร์มได้ประกอบกิจการส่วนใหญ่เกี่ยวกับวัวพันธุ์อเมริกันบราห์มัน แต่ต่อจากนี้จะเริ่มพัฒนาพันธุ์โลว์ไลน์ แองกัส ให้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันสิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือการทดลองผสมระหว่างพ่อพันธุ์โลว์ไลน์ แองกัส กับพันธุ์พื้นเมืองคือพันธุ์ กำแพงแสน ซึ่งพบว่าได้ลูกพันธุ์ที่ขายาวขึ้นแต่ก็ให้ปริมาณเนื้อที่ใกล้เคียงกัน จึงถือว่าพันธุ์นี้สามารถใช้เพื่อธุรกิจเนื้อได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเชียงรายฟาร์มจึงจะมีการส่งเสริมการใช้น้ำเชื้อวัวโลว์ไลน์ แองกัส ผสมกับวัวพื้นฐานของเกษตรกรใน จ.เชียงราย เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัวซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น รวมทั้งจะรับซื้อวัวลูกผสมทุกตัวที่เกิดจากพ่อพันธุ์โลวไลน์ แองกัส ในราคาประกันคือ กิโลกรัมละ 75 บาท ทั้งตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งถือว่าได้ราคาแพงกว่าวัวพันธุ์ทั่วไปในประเทศไทย”เป้าหมายสูงสุดของเราคือการสร้างแบรนด์เนื้อชั้นดีจากเชียงรายฟาร์มให้เป็นสินค้าประจำ จ.เชียงราย โดยเป็นเนื้อของลูกผสมโลว์ไลน์แองกัส และมีร้านจำหน่ายโดยเฉพาะ และยังมีเป้าหมายที่จะสร้างเป็นโรงเชือดแบบมาตรฐาน โดยนำวัวจากเชียงรายฟาร์มไปชำแหละ ซึ่งคาดหมายว่าโครงการจะสำเร็จภายใน 3 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันได้นำพ่อพันธุ์โลว์ไลน์ แองกัส เข้ามาและได้ผสมลูกรุ่นแรกได้แล้ว” นายนเรศ กล่าว และว่าเชียงรายฟาร์มจะทำการเพาะพันธุ์ผสมโลว์ไลน์ แองกัส และพันธุ์พื้นเมืองกำแพงแสนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพยายามส่งเสริมเครือข่ายเกษตรกรให้สามารถเข้าไปรับน้ำเชื้อไปเพาะได้ฟรีแต่ต้องมีข้อตกลงกรณีให้ลูกพันธุ์ผสมในการจำหน่ายคืนให้กับฟาร์ม หรือเข้าไปศึกษาข้อมูลเพื่อการเลี้ยงลูกผสมโลว์ไลน์ แองกัส เพื่อร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์เนื้อป้อนตลาดโดยเฉพาะตลาดเกี่ยวกับร้านสเต็คและอื่นๆ ต่อไปการเลี้ยงลูกวัวพันธุ์ผสมโลว์ไลน์ แองกัส ถือว่ามีอนาคตที่ดีเพราะตามปกติวัวไทยทั่วไปเมื่อขุนจนมีอายุได้ประมาณ 1 ปี จะให้ราคาตัวละประมาณ 6,000 บาท แต่ถ้าเป็นโลว์โลน์ แองกัส จะให้ราคาสูงถึง 8,000-10,000 บาท หรือถ้าเทียบพันธุ์แท้ของอเมริกันบราห์มันอายุ 1 ปีราคาตัวละ 30,000-40,000 บาท แต่ถ้าเป็นพันธุ์แท้โลว์ไลน์ แองกัส จะสูงถึงตัวละกว่า 400,000 บาทเลยทีเดียว ส่วนน้ำเชื้อก็สามารถเป็นธุรกิจที่ดีเช่นกันโดยพันธุ์โลว์ไลน์ แองกัส ขายขวดละประมาณ 300 บาท แต่อเมริกันบราห์มันจะอยู่ที่ขวดละ 200-300 บาท
ลักษณะของโคเนื้อโลว์ไลน์แองกัส ของเชียงรายฟาร์ม
การจัดนิทรรศการไก่ประดู่หางดำ และจัดจำหน่ายพันธุ์ไก่ประดู่หางดำ
เสียดายฝนตกลมแรงทำให้ไม่สามารถโชว์ไก่ประดู่ได้ตลอดงาน
รูปภาพ

นายวิทยา จินตนาวัฒน์ปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายมาเยี่ยมชมโคเนื้อและชิมเนื้อย่าง

ลักษณะเนื้อของโลวไลน์แองกัสที่มีกระดูกเล็กมาก
นายนเรศ รัศมีจันทร์ ลงมือยั่างและปรุงรสเอง และมีครอบครัวมาร่วมชิมด้วยกันอย่างอบอุ่น ไม่ขายแต่ให้ชิม


สับประรดที่ชนะการประกวดและบรรยากาศบริเวณงาน


วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เยี่ยมฟาร์มไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ของนายธีระวัฒน์ คำสุยะ บ้านห้วยหมากเอียก หมู่ที่๘ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง โดยนายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอและนายจันทร์ รักลีน เจ้าหน้าที่สัตวบาล ออกเยี่ยมฟาร์มไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑  ของนายธีระวัฒน์ คำสุยะ  บ้านห้วยหมากเอียก หมู่ที่๘ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ หนุ่มไฟแรงที่ลงทุนลงแรงเลี้ยงไก่ประดูหางดำเชียงใหม่ ๑ จำนวน ๑๔๐๐ ตัว กำลังเริ่มได้ ๒ เดือน

 นายธึระวัฒน์ เจ้าของฟาร์ม นายสุพล ปศุสัตว์อำเภอและคุณยายของนายธีระวัฒน์ ที่ให้การสนับสนุนทุนให้ดำเนินการหลังจากเบื่อการทำงานจากกรุงเทพฯ
 ไกขุนพร้อมจำหน่ายได้แล้วเตรียมจะนำไปโชว์และขายในงานของดีเมืองเชียงราย ที่สวนไม้งามเชียงรายในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นี้
 สภาพในฟาร์มซึ่งเป็นทุ่งนาปรับมาทำโรงเรือนช่วงที่มีลมแรงน้องบอกว่าน่ากลัวมากต้องกางเต้นท์ให้ลูกไก่นอน
ไก่พันธุ์แท้ที่เตรียมไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อยอดที่มีอยู๋เดิม

ภาพวันที่๒๔พฤษภาคม ๒๕๕๖
ตอนไปเตรียมในงานวันสับประรดนางแล ภูแล ลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อบรมและมอบไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑


สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ปฏิบัติงานอบรมให้ความรู้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าเลา หมู่ที่ ๓ ตำบลดงมหาวัน ซึ่งรับมอบไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ ในโครงการส่งเสริมการทำปศุสัตว์อินทรีย์ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ สนับสนุนโดยโครงการศึกษาสมรรถนะการผลิตไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ๑ ในพื้นที่โครงการหลวง อบรมที่ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริของนายสมัย สาวงษา อาสาปศุสัตว์ดีเด่นจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ มีเกษตรกรมารับเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๒๕ ราย พอทราบข่าวว่าเป็นแจกฟรีก็มาเพิ่มบางรายก็พยายามจะเอาญาติมาเสริม พอเปิดประชุมอบรมก็เลยบอกว่ามันไม่ใช่ของฟรี มาจากภาษีของท่านทั้งนั้น ต้องอธิบายอีกว่ารัฐบาลเขาเก็บภาษีทองอ้อมมากมายอย่างไรอีก เหนื่อยใจครับกับความไม่รูู้และโลภเห็นแก่ตัวอย่างนี้  ส่วนผู้เขียนมีความสุข สนุกเพราะเป็นผู้ให้ ให้ความรู้เสริมปัญญาให้พี่น้องครับ

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อบรมเกษตกรสนใจการเลี้ยงไก่บ้านป่าซาง หมู่ที่ ๓ และบ้านนาเจริญ หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

นายสุพล ปานพาน รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เป็นวิทยากรบรรยายการเลี้ยงไก่ให้กลุ่มสนใจ ของบ้านป่าซาง หมู่ที่ ๓และบ้านนาเจริญ หมู่ที่ ๙  ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ศาลาอเนกประสงค์ของหมู่บ้าน ก่อนที่จะได้รับไก่จากโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงนำร่องปี ๒๕๕๖ เป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เจาะเลือดม้าตรวจโรค


สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกปฏิบัติงาน เจาะเลือดม้าเพื่อตรวจโรคตามนโยบายกรมปศุสัตว์ ที่ไร่ภูชมดาว หมู่ที่ ๕ ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เมื่อบ่ายวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ มีม้ารวมจำนวน ๘ ตัว เหนื่อยเพราะม้าไม่คุ้นตื่นตกใจตลอดเวลาแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดีเพราะคนเลี้ยงและเจ้าของแข็งแรงช่วยกันจับบังคับให้อย่างดี
  โรคที่กรมปศุสัตว์ให้ความสำคัญคือโรคโลหิตจางในม้าท่านสามารถอ่านรายละเอียดโรคคลิกที่นี่

ร่วมออกบริการด้านปศุสัตว์โครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ประจำเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๖

นายพินิจ แก้วจิตรคงทอง นายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง และหัวหน้าส่วนราชการร่วมกันมอบผ้าห่มให้ประชาชนในพื้นที่ ๓ หมู่บ้านบ้านดงชัย บ้านป่าห้าและบ้านเด่นสันทราย
 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ร่วมออกบริการด้านปศุสัตว์ในโครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ ที่บ้านดงชัย หมู่ที่๒ ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ทุกส่วนราชการมาออกนิทรรศการและบริการเช่น วิทยาลัยการอาชีพบริการซ่อมรถมอเตอร์ไชด์เครื่องจักรกาารเกษตร โรงพยาบาลตรวจสุขภาพตรวจคัดกรองโรคต่างๆ หน่วยนพค.๓๕ ตัดผมเป็นต้น
ประชาชนจากสามหมู่บ้านมาร่วมรับบริการ

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ไปร่วมงานคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ที่อำเภอแม่จัน

 นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง  ร่วมออกปฏิบัติงานคลินิคปศุสัตว์ ในงานวันเกษตรกรและคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ ที่เทศบาลตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทุกอำเภอสังกัดสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ให้บริการรักษาสัตว์ ทำหมันสุนัขแมว แจกเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ เอกสารวิชาการ


วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ควบคุมและลดประชากรสุนัข

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ดำเนินการโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในกิจกรรมควบคุมและลดประชากรสุนัขแมว โดยร่วมมือกับอบต. ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนบ้านห้วยหมากเอียกหมู่ที่ 5 ตำบลป่าซาง นัดหมายทำหมันสุนัขแมว ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 โดยเน้นที่เพศเมีย มีประชาชนในพื้นที่ไกล้เคียงนำสุนัขมาทำหมันจำนวน 21 ราย มีสุนัขแมวเพศเมีย 29 ตัว เพศผู้ 11 ตัว รวม 40 ตัวตามเป้าหมายที่ได้เตรียมไว้ มีทีมงานจากกลุ่มสุขภาพสัตว์ นายอนันต์ มาใจวงค์ นำน้องๆนักศึกษาฝึกงานไปร่วมกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอโซนกลางที่นำโดยหมอนิคม ดอกสลิด ทำให้งานสำเร็จเรียบร้อยดีมาก ขอบคุณทุกๆคนที่มีส่วนร่วม และทางชุมชนบ้านห้วยหมากเอียก ที่เตรียมสถานที่ เลี้ยงอาหารเครื่องดื่ม

เหนื่อยมากแต่เมื่องานเสร็จแล้ว ก็มีรอยยิ้ม น่ารักแบบนี้ครับ

พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง(เก็บตก)

นายจันทร์ รักลีน เจ้าหน้าที่สัตวบาล สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้งมอบยาฆ่าเชื้อโรคให้เจ้าของสนามไว้ดำเนินการพ่นทุกครั้งหลังประลอง
ภาพกิจกรรมต่อเนื่องของ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ที่ดำเนินโครงการณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ ระหว่าง ๒๒-๒๖ เมษายน ๒๕๕๖ ตามนโยบายกรมปศุสัตว์ โดยให้เน้นปฎิบัติในพื้นที่เสี่ยง บริเวณนกอพยพ และนกธรรมชาติอาศัยอยู่ พื้นที่ี่มีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ สถานที่ฆ่าสัตว์ปีกรายย่อย สนามประลองไก่ชนถือเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ต้องดำเนินการประจำ  ซึ่งย้ำให้เจ้าของพ่นทุกครั้งหลังเสร็จจากการประลองทุกครั้ง

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การตรวจสอบและบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมด้านปศุสัตว์

ตามนโยบายรัฐบาลในการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเกษตรของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงรายจัดการประชุมเพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเกษตรด้านปศุสัตว์ ของจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย โดยมีนายวิทยา จินตนาวัฒน์ ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เป็นประธาน มีปศุุสัตว์อำเภอทั้งหมดและผู้ทรงคุณวุฒิสภาเกษตรกร  ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรสัตว์แต่ละชนิดเข้าร่วมประชุม
บรรยากาศการประชุมสบายๆ ช่วงแรกมีหมอพืชผล น้อยนาฝาย เป็นประะานดำเนินการประชุม เนื่องจากหัวหน้าติดราชการเร่งด่วน

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เยี่ยมอาสาปศุสัตว์บ้านดงชัย ตำบลทุ่งก่อ

 เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง เข้าร่วมประชุมกรรมการหมู่บ้านดงชัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประกวดหมู่บ้านนำร่องเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากประชุมเรียบร้อยได้เยี่ยมกิจกรรมการเกษตรของอาสาปศุสัตว์นายสุขแก้ว มณีจันทร์สุข (ลุงขาว) มีการปลูกผักบุ้ง ผักชี และเลี้ยงไก่ประดู่หางดำแม่พันธุ์  ๗ ตัว พ่อพันธุ์ ๑ ตัว ลูกไก่ขุน ๒๐ ตัว ลุกที่กำลังกก ๒๐ ตัว กำลังเกิด ๑๑ ตัว มีเลี้ยงเป็ดเนื้ออีก ๒๗ ตัวทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ มีลุกหมูอีก ๑ ตัวมาลองเลี้ยงแบบเคลื่อนที่ได้ ลุงขาวให้ชื่อว่า หมูบังกาโล

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่๑ที่บ้านเนินไทรพัฒนา

 เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ นายสุพล ปานพาน ปศุุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ออกเยี่ยมกิจกรรมการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำบ้านเนินไทรพัฒนา ของเดี่ยว ภารรักษา คนหนุ่มไฟแรงที่สนใจอยากเลี้ยงไก่ประดู่หางดำลงทุนเองมาชื้อไก่จากกลุ่มเลี้ยงไก่ประดู่บ้านห้วยห้างไปจำนวนหนึ่ง ตอนนี้กำลังออกมา ๑ แม่ ตั้งใจจะชื้อตู้ฟักบอกว่าแม่ไก่ไม่ค่อยจะฟักไข่และมีไข่ออกมาก อยากฟักได้ที่ละหลายๆฟอง ได้ให้คำแนะนำตามสมควรแล้วเดินชมอีก ๒ ราย ได้แก่นายไกรภพ สิงห์ขัน และนายรังสรรค์ แวงวรรณ์ น่าสนใจมากเพราะทั้ง ๓ คนริเริ่มเลี้ยงเองโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ไปสงเสริม ต้องไปต่อยอดให้น้องๆเขาประสบความสำเร็จ เพราะปกติทำสวนยางพารา มีเวลาเหลือสำหรับการเลี้ยงไก่อยู่แล้ว
 ตอนนี้ยังไม่ได้เป็นไก่ประดู่หางดำทั้งหมดแต่ในอนาคตไม่แน่เพราะจะมีการเปรียบเทียบผลผลิต