วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ตามเจาะเลือดสุนัขบ้านเวียงคำฟ้าตามหาโรคลิชมาเนีย โรคอุบัติใหม่

 นายสุพล ปานพาน ปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และนายจันทร์ รักลีน เจ้าหน้าที่สัตวบาล เดินทางเยี่ยมชมกิจกรรมการประชุมประจำเดือนของบ้านเวียงคำฟ้าและปฏิบัติงานเจาะเลือดสุนัข ของผู้ใหญ่บ้านนายไทธวัช แสงเสรีธรรม ๑๒๖ หมู่ที่ ๙ ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย



โรคลิชมานิเอซิส (Leishmaniasis) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต โปรโตซัว ใน จีนัสลิชมาเนีย (Leishmania) ที่ทำให้เกิดโรคในคนมีประมาณ 20 สปีชีส์ (species) แหล่งระบาด ได้แก่ ยุโรปตอนใต้บริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียน (อิตาลี กรีซ สเปน) อินเดีย บังคลาเทศ เอเชียกลาง แอฟริกา และอเมริกาใต้ เชื้อลิชมาเนีย ติดต่อสู่มนุษย์จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว วัว ซึ่งเป็นโฮสต์สะสมหรือรังโรค (reservoir) ของเชื้อชนิดนี้ โดยมีแมลงแซนด์ฟลาย (sandfly) เพศเมียหรือริ้นฝอยทรายซึ่งเป็นขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 3-5 ม.ม. เป็นพาหะซึ่งเมื่อกัดดูดเลือดสัตว์ที่มีเชื้อ เชื้อจะเปลี่ยนเป็นระยะโปรแมสติโกต (promastigotes) และแบ่งตัวอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของริ้นฝอยทราย เมื่อริ้นฝอยทรายกัดคน โปรแมสติโกตจะถูกปล่อยสู่ผิวหนัง และถูกเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) บริเวณผิวหนังจับกิน หลังจากนั้น โปรแมสติโกต จะเปลี่ยนเป็นระยะอะแมสติโกต (amastigote) และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอาศัยอยู่ในแมคโครฟาจ บางสปีชีส์จะก่อโรคจำกัดอยู่แค่ผิวหนัง บางสปีชีส์รุกลามเข้าไปก่อโรคที่เยื่อบุปาก จมูก หลอดคอ หลอดลม กล่องเสียง เป็นต้น และบางสปีชีส์จะกระจายเข้ากระแสเลือดโดยถูกพาด้วยเซลล์แมคโครฟาจ และเข้าไปเจริญและแบ่งตัวในเซลล์แมคโครฟาจของอวัยวะภายในที่สำคัญๆ เช่น ตับ ม้าม ไขกระดูก เป็นต้น
                ก่อนจะก่อโรคมีระยะเวลาฟักตัวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 7-10 วัน จนถึงหลายเดือน หลังจากติดเชื้อผู้ป่วยอาจหายได้เองหรือการติดเชื้อยังคงดำเนินต่อไปจนโรคปรากฏอย่างชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสปีชีส์ของเชื้อ  ปัจจัยทางพันธุกรรมและภูมิต้านทานของแต่ละบุคคล  วงชีวิตของเชื้อลิชมาเนียจะครบได้ต่อเมื่อริ้นฝอยทรายมากัดคนที่ติดเชื้อและได้ระยะอะแมสติโกตในเซลล์แมคโครฟาจเข้าไป ภายในริ้นฝอยทรายเชื้อจะเปลี่ยนเป็นระยะโปรแมสติโกตและแบ่งตัว จากนั้นไปรอเข้าโฮสต์ในส่วนปากดูด (proboscis) ของริ้นฝอยทราย เมื่อริ้นฝอยทรายไปกัดโฮสต์ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เชื้อก็จะเจริญเป็นวัฏจักรต่อไป  คลิกอ่านต่อ


ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร.พีรพรรณ ตันอารีย์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น: