วันปิยมหาราช หมายถึง วันที่ปวงชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานชีวิตใหม่ ให้อิสรภาพแด่ปวงชน โดยทรงประกาศเลิกทาส ทรงปรับปรุง และพัฒนาระบบการบริหาร ราชการแผ่นดินและอื่น ๆ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทย และเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ผู้ทรงมี พระมหากรุณาธิคุณ เป็นอเนกประการ หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า "เสด็จพ่อ ร.5"
วันปิยะมหาราชของประเทศไทย
วันปิยะมหาราชของประเทศไทย
วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุด และทำให้ชาวไทยได้ปลดปล่อยอิสระแรงงาน ซึ่งถือเป็นการให้ชีวิตใหม่ต่อประชาราษฎร์ คือ การประกาศเลิกทาสนั่นเอง ทำให้พระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน"
วันที่ใช้จัดงาน วันปิยะมหาราช
วันที่ใช้จัดงาน วันปิยะมหาราช
![]() |
ปศุสัตว์และประมงอำเภอร่วมกันวางพวงมาลา |
1. เวลา 06.30 น. พิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสารอาหารแห้ง (พระสงฆ์จำนวน 57 รูป)
2. เวลา 08.00 น. พิธีวางพวงมาลาและพิธีถวายบังคม
ส่วนราชการ/หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน หมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ได้นำพวงมาลาร่วมถวายเป็นราชสักการะ ใช้ดอกไม้สดหรือดอกไม้ประดิษฐ์โทนสีชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร พร้อมชื่อหน่วยงานไม่ใช้พื้นสีดำและไม่ใช้อักษรสีดำ
3. เวลา 18.00 น. พิธีจุดเทียนน้อมรำลึก (ใช้เทียนสีชมพู หรือสีเหลือง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น