วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ว่าด้วยกลุ่มดีเด่นด้านปศุสัตว์ของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง

 

ประวัติกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ดีเด่น


          ระดับจังหวัด/ระดับเขต/ระดับชาติ ประจำปี 2565

·       ชื่อกลุ่ม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงกระบือเพื่อการอนุรักษ์บ้านโป่ง

·       จัดตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 21  เดือน  เมษายน  พ.ศ. 2558  รวม  7  ปี

·       ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับกรมปศุสัตว์ วันที่ 5   เดือน   ตุลาคม   พ.ศ. 2559

·       เลขทะเบียนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์ 59-5-57-14-2-5984

·       ขึ้นทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงานอื่น (โปรดระบุหน่วยงาน) (ไม่มี)

·       เลขทะเบียนกลุ่มกับหน่วยงานอื่น (ไม่มี)

·       สมาชิกเริ่มจัดตั้ง จำนวน  17  คน สมาชิกปัจจุบัน จำนวน   17    คน

·       ชนิดปศุสัตว์ของกลุ่มที่เลี้ยง

1.          กระบือ มีจำนวน   173   ตัว ปัจจุบันกระบือมีทั้งหมด จำนวน  173    ตัวแยกเป็น                 เพศเมีย จำนวน   129    ตัว เพศผู้ 44 ตัว

·       อาชีพหลักของสมาชิก ทำนา ทำสวน

·       อาชีพเสริมของสมาชิก เลี้ยงกระบือ , ค้าขาย

·       อาชีพที่สร้างรายได้หลักให้สมาชิกมากที่สุด ทำนา

·       ชื่อประธานกลุ่ม    นายเฉลิม  สุขเกษม     โทรศัพท์ 08-7728-4639

·       ที่ทำการกลุ่มเลขที่ 51 หมู่ที่ 15 บ้านโป่งพัฒนา ตำบลทุ่งก่อ อำเภอ เวียงเชียงรุ้ง                จังหวัด เชียงราย โทรศัพท์ 08-7728-4639


·       ผลงานดีเด่น รวม 5 กิจกรรม (ทุกกิจกรรมต้องบรรยายสรุปพร้อมภาพประกอบ)

1. กิจกรรมความคิดริเริ่ม

      เนื่องด้วยนายเฉลิม สุขเกษม ประธานกลุ่มเคยเป็นอาสาปศุสัตว์ที่มีหัวก้าวหน้าเคยรวมกลุ่มอาสาปศุสัตว์ประจำตำบล และระดับอำเภอมาแล้ว เคยได้รับคัดเลือกเป็นอาสาปศุสัตว์ดีเด่นของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เมื่อทราบข่าวการอนุรักษ์กระบือโดยการสนับสนับสนุนจากกรมปศุสัตว์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จึงรวบรวมสมาชิกในหมู่บ้านที่เลี้ยงกระบือมาตั้งกลุ่มจนทำให้กลุ่มสามารถจบโครงการอนุรักษ์รอบแรกได้อย่างดี โดยใช้ตลาดนำมีร้านขายเนื้อโค กระบือของกลุ่ม  กลุ่มฯ มีการจัดทำทะเบียนประวัติสัตว์ของกลุ่มฯไว้เป็นรูปเล่มที่สัมพันธ์กับทะเบียนประวัติสัตว์ของสำนักงานปศุสัตว์เภอเวียงเชียงรุ้ง ซึ่งประกอบด้วยชื่อ-สกุล ของสมาชิกแต่ละรายพร้อมรูปภาพประกอบ หมายเลขบัตรประจำตัว หมายเลขสัญญายืมกระบือ ที่อยู่ มูลค่ากระบือที่ยืม วันรับมอบกระบือ วันครบสัญญายืม พิกัด GPS ฟาร์ม หมายเลขโทรศัพท์ของสมาชิกผู้ยืม หมายเลขประจำตัวกระบือที่ยืมพร้อมรูปถ่าย ประวัติการทำวัคซีนหรือถ่ายพยาธิ รวมทั้งวันเกิดลูกกระบือตัวที่ 1 พร้อมภาพถ่าย และมีการประชุมกลุ่มฯเป็นประจำทุกเดือน เพื่อปรึกษาหารือระบบการเลี้ยง แนวทางการพัฒนากลุ่ม การออม การควบคุมป้องกันโรค การเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติต่างๆ ฯลฯ รวมทั้งมีการบันทึกการประชุมทุกครั้ง

กลุ่มฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่มตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเมื่อมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจึงเข้าร่วมโครงการ ธคก. โดยมีนายเฉลิม สุขเกษม เป็นประธานฯ นายสมบัติ วันดี เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆประกอบด้วย ฝ่ายเลขาฯ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการอีก 15 คน รวมคณะกรรมการทั้งหมด 17 คน ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มโดยยึดหลักประชาธิปไตยใช้เสียงส่วนมากในการดำเนินการต่างๆกลุ่มฯมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับต่างๆของกลุ่มฯขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกฯทุกคนปฏิบัติโดยยึดหลัก ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์มีการจัดตั้งกองทุนสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อให้สมาชิกฯทุกคนได้ออมทรัพย์  โดยยึดหลัก ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด เก็บออม และมีคุณธรรม มีการจัดทำสมุดเงินฝากสำหรับสมาชิกฯเป็นรายบุคคล ซึ่งเงินออมดังกล่าวได้นำมาใช้ในกิจกรรมของกลุ่มและให้สมาชิกกลุ่มกู้เพื่อลงทุนปรับปรุงฟาร์มหรือบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อครอบครัวประสบปัญหาสภาพคล่อง โดยเปิดให้สมาชิกฯกู้ทั้งแบบกู้สามัญและฉุกเฉิน คิดดอกเบี้ยกับสมาชิกในอัตราต่ำ ทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินในกลุ่มฯอย่างสม่ำเสมอ โดยปัจจุบันมีเงินสดตามสมุดคุมเงินสดของกลุ่มฯ(ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2564) จำนวน 84,723 บาท (แปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยยี่สิบสามบาทถ้วน)   

2. กิจกรรมความสามารถในการบริหารและการจัดการ

-          ดูการจัดการและเริ่มให้คำแนะนำการดูแลจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จากเดิมกลุ่มได้รับ กระบือโครงการอนุรักษ์กระบือ จำนวน 20 ตัว สามารถต่อยอดการตลาดโดยมีร้านขายเนื้อของกลุ่มจัดการชำแระขายอาทิตย์ละ 2 วัน มีการออมของสมาชิกเดือนละ200บาทต่อราย และมีการริเริ่มมี"ธนาคารขี้ควาย" และต่อมาทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอได้เห็นความสามัคคีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์บ้านโป่งพัฒนา จึงได้ยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุน เครื่องอัดฟางจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างมูลค่าฟางข้าวที่เผาทิ้งมาเป็นอาหารสัตว์แก้ไขปัญหาหมอกควัน จากที่นาของสมาชิกและชุมชนในพื้นที่ไกล้เคียงกว่า4500ไร่ ลดต้นทุนด้านอาหารสำรองหน้าแล้งของโค กระบือรวมทั้งช่วยเสริมสร้างกลุ่มมีได้รายได้จากการขายฟางอัดฟ่อน เพิ่มจากเดิม ด้วย

-           กลุ่มฯมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับต่างๆของกลุ่มฯขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกฯทุกคนปฏิบัติโดยยึดหลัก ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์

3. กิจกรรมการมีบทบาทและมีส่วนร่วมของสมาชิก

                   3.1 การมีส่วนร่วมกับชุมชน หรือสำนักงานปศุสัตว์ฯ ได้รับเป็นวิทยาร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เป็นตัวแทนในการอบรมอาสาปศุสัตว์ ด้านการทำวัคซีนในสัตว์ให้กับอาสา 3 ตำบล    

3.2 สมาชิกได้รับกระบือจากโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ในวันที่ 27 เมษายน 2561 จำนวนกระบือ 17 ตัว เกษตรกร 17 ราย (1 ราย/1 ตัว

 3.3 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโป่ง ได้จัดให้สมาชิกทำโครงการ ธนาคารขี้ควายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกในกลุ่มร่วมสร้างรายได้ และมีการพัฒนาหารือในกลุ่ม


4 .กิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงสัตว์บ้านโป่ง ได้ร่วมกันนำฟางมาอัดก้อนเพื่อนำแบ่งปันสมาชิกในกลุ่ม ลดต้นทุนค่าใช่จ่าย สมาชิกพร้อมใจกันในการทำฟางอัดมาใช้ภายในกลุ่มสมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อลดการเผาฟาง ลดหมอกควันพิษในอากาศ   นอกจากนั้นการมีธนาคารขี้ควายยังส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยที่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค ทั้งยังสร้างรายได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: