วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไก่บ้านดงชัย

 









ชื่อกลุ่ม  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย

ที่ตั้งกลุ่ม บ้านดงชัย  หมู่ 2 ตำบลทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

          1.ข้อมูลทั่วไป

                   1.1 สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขากับแม่น้ำกกและพื้นที่ทำนาในเขตชลประทาน  

                   1.2 สภาพเกษตรกร เป็นคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดลำพูนเมื่อ100กว่าปีมาแล้ว อาชีพหลักคือการกสิกรรม  ทำสวน ทำไร่ ทำนา เช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับประรด ยางพารา ปาล์ม ลำไย และพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล มีการใช้สารเคมีในการเกษตรจำนวนมาก ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง ไก่ชน ไก่กระประดู่หางดำ(ที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาส่งเสริมไว้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มฯ )ห่าน เป็ด ไก่งวง โคเนื้อ กระบือ ผลผลิตการเกษตรที่เกษตรกรปลูกเองสามารถนำมาทำอาหารสัตว์ได้ เช่นรำ ข้าว มันสัมปะหลัง ข้าวโพด ชื้อกันเองในชุมชนก็ไม่แพง  ถูกกว่าที่ชื้อจากร้านค้า  ทั้งหมู่บ้านและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดอยพระบาททุ่งก่อที่มีจุดชมวิวท้องทุ่งนาที่สวยงาม เป็นจุดรวมขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งของOTOP ที่พัฒนาชุมชนสนับสนุน เช่น พันธุ์ข้าวสร้างรายได้สู่ชุมชนได้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปไก่นิลเวียงเชียงรุ้ง มีน้ำชลประทานที่มีมากพอใช้ทั้งปี ประชากรในหมู่บ้านมีความขยันทำมาหากินมีโรงเรียนวัดดงชัยเป็นแหล่งความรู้สอนพระเณรในพื้นที่อำเภอเวียงเชียงรุ้ง ที่มีความสวยงามเป็นศูนย์รวมใจของชุมชน







สภาพการตลาด

การผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกรในหมู่บ้านดงชัยจะเป็นการขายไก่เป็นให้พ่อค้าคนกลางนำไปเชือดขายและมีสมาชิกบางรายก็มีการเชือดเองในครัวเรือนแล้วนำไปขายตลาดชุมชน

พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นไก่ประดู่หางดำ ไก่พื้นเมืองทั่วไป แต่ไก่ประดู่หางดำพ่อค้าไม่ค่อยชื้อถ้าชื้อก็กดราคา จึงปรับมาเลี้ยงไก่พื้นเมืองก่อนการระบาดโควิด19 ไก่ที่เลี้ยงในชุมชนไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล(ห้วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม)มีความต้องการมากต้องหาซื้อจากต่างหมู่บ้าน มาทำพิธีต่างๆ  ในหมู่บ้านมีพ่อค้าคนกลางรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่นด้วย แต่ในช่วงเกิดโรคโควิด 19 พ่อค้าได้หยุดการรับซื้อไก่เนื่องจากจุดผ่อนปรนชายแดนปิด สมาชิกบางคนก็เลิกผลิตขายเลี้ยงไว้เพียงพอกินในครอบครัว  อย่างไรก็ตามยังมีสถานที่คอกเล้าโรงเรือนที่ได้มาตรฐานสามารถนำลูกไก่จากเครือข่ายของนายสุรพงค์ มณีวรรณ อำเภอขุนตาลมาขุนได้ตลอด ขอเพียงตลาดมีความต้องการเพิ่ม ชายแดนมีการเปิดขายตามปกติ

 

พืชอาหารสัตว์ในพื้นที่

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย มีพืชอาหาร ได้แก่ รำ ข้าว ปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด หยวกกล้วย มันสำประหลัง ปลูกเองทำให้ราคาถูกกว่าไปชื้อร้านค้าซึ่งราคา10ถึง12บาทต่อกิโลกรัม เศษวัสดุการเกษตรเช่นแตงกวาตกเกรด สับประรด  ส่วนอาหารสำเร็จรูปต้องชื้อจากร้านค้า

สภาพปัญหาการเลี้ยง

ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปแพง การตลาดที่ไม่แน่นอน ขายไม่ได้ราคาที่เหมาะสม ทำให้การวางแผนเลี้ยงอย่างเป็นระบบทำได้ยาก

เป้าหมายการตลาด 

สำหรับไก่พื้นเมือง สมาชิกกลุ่มมีการขุนขายเครือข่ายอำเภอขุนตาล ,ส่งพ่อค้าตลาดบ้านดู่ และพ่อค้าชายแดนเชียงแสน

ไก่พื้นเมือง ยังมีเป้าหมายสำหรับเครือข่ายและช่วงเทศกาล จำนวนประมาณ 13,000 ตัว ต่อปี

พฤศจิกายนถึงมีนาคม

ต้องการสูงประมาณไก่เป็น6000ตัว

เมษายนถึงตุลาคม

ความต้องการสูงประมาณไก่เป็น7000ตัว

 

ระบบการเลี้ยงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านดงชัย

 เป็นแบบแม่ฟักธรรมชาติทั้งหมดและใช้ลูกไก่จากตู้ฟักเครือข่ายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง(นายประสงค์ อุ่นติ๊บ)และกลุ่มอำเภอขุนตาล (นายสุรพงค์ มณีวรรณ)

แผนพัฒนาต่อไปของกลุ่ม

คือสร้างความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มสร้างแหล่งเรียนรู้จำนวน 5 รายเป็นต้นแบบ และสมาชิกอีก 10 ราย เพื่อให้ได้ผลผลิตไก่พื้นเมืองที่ตลาดต้องการได้จำนวนสม่ำเสมอ  ตอบสนองต่อลูกค้าได้ตลอดเวลา และไก่พื้นเมืองต้องการพัฒนาการเลี้ยงด้วยความรู้การจัดการอย่างเป็นระบบลดต้นทุน ให้ไก่ตายน้อยจากโรค และมีการวางปฏิทินการผลิตให้เหมาะสมกับตลาด สามารถมีไก่เพียงพอในช่วงเทศกาลประเพณีของแต่ละปี  สร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชนอีกอาชีพหนึ่ง เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดทุกกลุ่มในเชียงราย ทั้งชายแดนที่ส่งเมียนมาร์  ส่งสปป.ลาว

วางแผนทำผลิตภัณฑ์จากไก่ประดู่หางดำที่เป็นอัฒลักษณ์ของกลุ่มฯโดยใช้ฟาร์มที่มีความพร้อมจำนวน 3 ฟาร์ม ส่งกลุ่มแปรรูปของกลุ่มแม่บ้านเพื่อจำหน่ายที่ร้านค้าของศูนย์เรียนรู้ฯ แหล่งท่องเที่ยว และร้านทั่วไป

การแก้ไขปัญหาของกลุ่มในช่วงโควิด 19

กลุ่มฯ มีการลดการเลี้ยงและหยุดบ้างในบางรายที่ไม่มีทุนจะซื้ออาหาร บางรายก็ใช้ข้าวโพด ข้าวเปลือก หยวกกล้วย เลี้ยงไว้พอประทัง ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนเลี้ยงเอาไว้กินในครัวเรือน เพราะรายได้ต่างๆ จากลูกหลานส่งมาให้ก็ไม่มี เนื่องจากตกงานล็อกดาวน์ การเกษตรสินค้าก้อราคาต่ำ

ไม่มีความคิดเห็น: