วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เยี่ยมกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าห้า

 

ชื่อกลุ่ม  กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าห้า

ที่ตั้งกลุ่ม บ้านป่าห้า  หมู่ 3 ตำบลทุ่งก่อ  อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย

          1.ข้อมูลทั่วไป

                   1.1 สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเล 420 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ เป็นต้น และบนภูเขามีป่าไม้ที่อุดมสมบรูณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์สัตว์ ห้ามล่าสัตวสงวนของอุทยานของป่าไม้ เป็นป่าที่มีเห็ดออกประจำ   มีลำห้วยในบางพื้นที่มีการต่อประปาภูเขาบางจุด  ส่วนบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบเป็นอยู่ในเขตชลประทานในช่วงฤดูร้อนมีน้ำน้อย จึงทำนาได้สองครั้ง  ผลผลิตจากข้าวเป็นรายได้หลัก  เมื่อมีนโยบายปลูกยางพาราทำให้ที่ดินตามเชิงเขาถูกปรับเป็นสวนยางพารา และไม้ยืนต้นที่หลากหลายเช่น ลำไยมะม่วง ลองกอง รางสาด  ทุเรียน เงาะ โกโก้ กาแฟ เป็นต้น แต่ก็ยังมีส่วนที่มีกล้วยป่าจำนวนมาก เหมาะสำหรับเอามาทำหยวกหมักเลี้ยงไก่ได้ มีแหล่งท่องเที่ยวได้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยดินดำที่สวยงาม มีคนมาเที่ยวปีละหลายหมื่นคน







                   1.2 สภาพเกษตรกร เป็นคนพื้นเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ชอบการเลี้ยงไก่พื้นเมือง สมาชิก 12 ราย ประกอบอาชีพหลักคือ การกสิกรรม  ได้แก่ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับประรด ยางพารา เงาะ ลองกอง ลำไย โกโก้ กาแฟ และพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล   ด้านปศุสัตว์มีการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง ไก่ชน ไก่ไข่(ที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาส่งเสริมไว้เป็นโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ 5ประสาน ) เป็ด โคเนื้อ กระบือ  ผลผลิตการเกษตรที่เหลือเกษตรกรปลูกเองสามารถนำมาทำอาหารสัตว์ได้ เช่น รำ ข้าว มันสัมปะหลัง ข้าวโพด หยวกกล้วย วัสดุเหลือจากการเกษตรต่าง ชื้อกันเองในชุมชนก็ไม่แพง  ตามแนวป่ามีกล้วยป่าจำนวนมาก  

สภาพการตลาด

การผลิตไก่พื้นเมืองของ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าห้า ตลาดเป็นการขายไก่เป็นให้พ่อค้าคนกลางนำไปเชือดขายและมีสมาชิกนัดรวมกลุ่มรวบรวมไก่แล้วมีการเชือดแช่แข็ง แล้วนำไปขายตลาดชุมชน ส่งร้านอาหารในตัวเมืองที่สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์บ้านป่าห้า(แม่บ้าน) ที่รับชื้อไก่พื้นเมืองไปแปรรูปด้วย  มีแหล่งท่องเที่ยวได้แก่อ่างเก็บน้ำห้วยดินดำที่สวยงาม มีคนมาเที่ยวปีละหลายหมื่นคนช่วงฤดูท่องเที่ยวจะนำไก่พื้นเมืองไปย่างขาย ตลอดจนเมนูอื่นให้ผู้ที่มาเที่ยวได้รับประทาน

พันธุ์ไก่ที่เลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นไก่ประดู่หางดำ และไก่พื้นเมืองทั่วไป แต่ไก่ประดู่หางดำพ่อค้าไม่ค่อยชื้อถ้าชื้อก็กดราคา จึงปรับมาเลี้ยงไก่พื้นเมือง มีพ่อค้าคนกลางรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่น อ.เชียงแสน อ เชียงของ

 แต่ในช่วงเกิดโรคโควิด 19 พ่อค้าได้หยุดการรับซื้อไก่เนื่องจากจุดผ่อนปรนชายแดนปิด สมาชิกบางคนก็เลิกผลิตขายเลี้ยงไว้เพียงพอกินในครอบครัว  อย่างไรก็ตามยังบางรายยังเลี้ยงเหมือนเดิมเพื่อกินเองและขายในช่วงท่องเที่ยวอ่างห้วยดินดำ  

พืชอาหารสัตว์ในพื้นที่

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองประดู่หางดำบ้านห้วยห้าง มีพืชอาหาร ได้แก่ รำ ข้าว ปลายข้าว ข้าวเปลือก ข้าวโพด หยวกกล้วย มันสำประหลัง ปลูกเอง  เศษวัสดุการเกษตร เช่นแตงกวาตกเกรด สับประรด  มาสับให้ไก่ที่โตแล้วอายุ 1 เดือนขึ้นกิน เป็นการลดต้นทุน ส่วนอาหารสำเร็จรูปต้องชื้อจากร้านค้าใช้เลี้ยงลูกไก่เพื่อเสริมสร้างโครงสร้าง

สภาพปัญหาการเลี้ยง

ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปแพง การตลาดที่ไม่แน่นอน ขายไม่ได้ราคาที่เหมาะสม ทำให้การวางแผนเลี้ยงอย่างเป็นระบบทำได้ยาก

เป้าหมายการตลาด 

สำหรับไก่พื้นเมืองขายช่วงเทศกาลท่องเที่ยวอ่างห้วยดินดำ และ สมาชิกกลุ่มมีการขุนขายเครือข่ายอำเภอขุนตาล ,ส่งพ่อค้าชายแดนส่งขายชายแดน จุดผ่อนปรน อ.เวียงแก่น อ.เชียงแสน อ เชียงของ เชื่อมกับกลุ่มบ้านดงชัยที่อยู่ไกล้กัน

ไก่พื้นเมือง ยังมีเป้าหมายสำหรับเครือข่ายและช่วงเทศกาล จำนวนประมาณ 10,000 ตัว ต่อปี

พฤศจิกายน ถึงเมษายน

ต้องการสูงประมาณไก่เป็น6,500ตัว

พฤษภาคม ถึงตุลาคม

ความต้องการสูงประมาณไก่เป็น4,000ตัว

 

 

 

ระบบการเลี้ยงของ

กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านป่าห้า เป็นแบบแม่ฟักธรรมชาติทั้งหมด

แผนพัฒนาต่อไปของกลุ่ม

คือสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกทั้ง 12 ราย เพื่อให้ได้ผลผลิตไก่พื้นเมืองที่ตลาดต้องการได้จำนวนสม่ำเสมอ  ตอบสนองต่อลูกค้าได้ตลอดเวลาในช่วงเทศการท่องเที่ยวของอ่างห้วยดินดำ  และเพิ่มการผลิตไก่พื้นเมืองทั่วไปที่ตลาดชายแดนต้องการ พัฒนาการเลี้ยงด้วยความรู้การจัดการอย่างเป็นระบบลดต้นทุน ให้ไก่มีความสมบูรณ์ขนเต็มตามแบบที่พ่อค้าพอใจ และมีการวางปฏิทินการผลิตให้เหมาะสมกับตลาด สามารถมีไก่เพียงพอในช่วงเทศกาลประเพณีของแต่ละปี  เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดทุกกลุ่มในเชียงราย ทั้งชายแดนที่ส่งเมียนมาร์  ส่งสปป.ลาว

วางแผนทำผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงแบบธรรมชาติปลอดสารเคมีที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มฯโดยใช้ฟาร์มที่มีความพร้อมจำนวน 2 ฟาร์มเริ่มต้นเพื่อ ส่งกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้าน ไว้จำหน่ายที่ร้านค้าร้านอาหารประจำอ่างห้วยดินดำ  ร้านค้าขายของฝากแหล่งท่องเที่ยว และร้านทั่วไป

การแก้ไขปัญหาของกลุ่มในช่วงโควิด 19

กลุ่มฯ มีการลดการเลี้ยงและหยุดบ้างในบางรายที่ไม่มีทุนจะซื้ออาหาร บางรายก็ใช้ข้าวโพดบด ข้าวเปลือกบด หยวกกล้วยสับ เลี้ยงไว้พอประทัง เพราะไม่ต้องลงทุนไปชื้อแก้ปัญหาราคาข้าว ข้าวโพดที่ตกต่ำด้วย ลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนเลี้ยงเอาไว้กินในครัวเรือนเป็นหลัก และขายให้เพื่อนบ้านที่มีงานเลี้ยงงานบุญ  


ไม่มีความคิดเห็น: